วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553

เตรียมภาษาอังกฤษ ก่อนเข้าอนุบาล-ป.1

เพลงเด็กอนุบาล

เพลงเด็กอนุบาล

บังเอิญไปเจอ...เก็บมาฝากคะจากเวบไซต์คะ   หลายเพลงลืมไปแล้วเหมือนกัน  เหมือนได้รื้อไฟล์เดิม ๆ กลับมาอีกครั้ง  <^V^>
1. จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้าขอข้าวขอแกง
ขอแหวนทองแดงผูกมือน้องข้าขอช้างขอม้าให้น้องข้าขี่
ขอเก้าอี้ให้น้องข้านั่ง ขอเตียงตั้งให้น้องข้านอน
ขอละครให้น้องข้าดู ขอยายชูเลี้ยงน้องข้าเถิด
ขอยายเกิดเลี้ยงตัวข้าเอง
………………………………………..
2. แมงมุมลายตัวนั้น
ฉันเห็นมันสงสารเหลือทน
วันหนึ่งมันถูกฝน ไหลลงจากบนหลังคา
พระอาทิตย์ส่องแสง ฝนแห้งเหือดไปลับตา
มันรีบไต่ขึ้นฟ้า หันหลังมาทำตาลุกวาว
………………………………………..
3. Are you sleeping? Are you sleeping?
Brother’s Jhone > Brother’s Jhone?
Morning bell are ringging.
Morning bell are ringging.
Ding ding dong ding ding dong.
………………………………………..
4. หนูมาลีมีลูกแมวเหมียว ลูกแมวเหมียว ลูกแมวเหมียว หนูมาลีมีลูกแมวเหมียว ขนมันคล้าย
สำลี………………..
……………………………………….
5. โผล่มาจากขอบฟ้า เค้ามาในยามเช้า
ส่องแสงให้เรา อบอุ่นสบาย
เค้าลอยข้ามเราไป จมหายไปในยามเย็น
พรุ่งนี้เราก็จะเห็น เค้าโผล่อีกที…ที่เดิม
พระอาทิตย์ ยิ้มแฉ่ง ^O^ แก้มแด๊ง…แดง
แต่งตัว ทาแป้งโผล่มา ยามเช้าตรู่ ~~ ฮู๊ ฮู ~~
พระอาทิตย์ ยิ้มแฉ่ง ^O^ แก้มแด๊ง…แดง
แต่งตัว ทาแป้งโผล่มา ส่งยิ้มให้คุณหนู
ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่
………………………………………..
6. เต่า เต่า เต่า / เต่านั้นมีสี่ขา / สี่ตีนเดินมา / มันทำหัวผลุบ ผลุบ โผล่ โผล่ / มันทำหัวผลุบ
ผลุบ โผล่ โผล่
………………………………………..
7. จับปูดำ ขยำปูนา
จับปูม้า คว้าปูทะเล
สนุกจริงเลย ชะเลยนอนเปล
จะโอละเห่นอนเปล หลับไป
………………………………………..
8. เรามีตาไว้ดู เรามีหูไว้ฟัง เวลาใครสอนใครสั่ง ต้องตั้งใจฟัง ต้องตั้งใจดู
………………………………………..
9. เพลง อึ่งอ่าง
อึ่งอ่างมันนั่งข้างโอ่ง มานั่งหลังโก่งจะคอยกินมด
เด็กเอ๋ยเจ้าอย่าพูดปด เด็กเอ๋ยเจ้าอย่าพูดปด
จะกลายเป็นมดอาหารอึ่งอ่าง
………………………………………..
10. เพลง แตงโม
แตงโมผลใหญ่ ๆๆ เกิดขึ้นได้จากเม็ดแตงเม็ดเล็ก จำไว้นะพวกเด็ก ๆ จำไว้พวกเด็ก ๆๆ เม็ดแตง
เม็ดเล็กกลายเป็นแตงผลใหญ่
………………………………………..

วันศุกร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2553

Child development study: 8 months

ปัญหาพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี


ลักษณะพฤติกรรมเด็กวัย 1-3 ปี

        จาก การศึกษาพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี พบว่า เด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทอย่างรวดเร็ว โดยมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อ (synapse) ของใยประสาท ซึ่งใยประสาทเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ ความคิด ความจำ ตลอดทั้งพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก ประกอบกับธรรมชาติของเด็กวัยนี้เริ่มมีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายจากการค้นคว้า และสำรวจสิ่งใหม่ๆ รอบตัว มีความเป็นตัวของตัวเอง มีความพร้อมทางทักษะของพัฒนาการมากขึ้น สามารถยืน เดิน วิ่ง ได้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กรู้สึกว่าตนเองสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ได้ และเกิดความภาคภูมิใจในงานที่ตนเป็นผู้กระทำสำเร็จ บางครั้งอาจพบว่าเด็กแสดงปฏิกิริยาตอบโต้กับเหตุการณ์ต่างๆ บางอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งแสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเด็กวัยนี้เป็นวัยที่สำคัญต่อการพัฒนาพฤติกรรมและการ เรียนรู้ทักษะของพัฒนาการในทุกด้าน

         ซึ่งปัญหาของ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กวัยนี้ เป็นปัญหาที่ค่อนข้างเข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อน ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และพัฒนาการ จะเป็นลักษณะของการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งถ้าเด็กได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เหมาะสม โดยขาดการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูแล้วนั้น ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมขึ้นอย่างง่ายดาย ตลอดทั้งสภาวะการณ์ทางสังคมในปัจจุบันมีสิ่งล่อแหลมต่อการเกิดพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสม พ่อแม่มีทัศนคติต่อเทคโนโลยีค่อนข้างมาก โดยเน้นที่วัตถุมากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กโดยตรง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ขาดความเข้าใจในพัฒนาการและมีวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้มีผลต่อปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กทั้งสิ้น

ชนิดของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา

อาจจำแนกตามสาเหตุได้ดังนี้

1.       พันธุกรรม ปัญหาลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น เด็กกลุ่มอาการดาวน์ เด็กกลุ่มนี้มี
ระดับ สติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติ เรียนรู้ช้า มีความสนใจสั้น มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ เด็กเหล่านี้มีการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ ไม่คล่องตัวเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก

2.       สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
แทบ ทั้งสิ้น สภาพครอบครัว การเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง มีอิทธิพลสูงต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้น สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกิดสภาพความกดดัน และมีผลต่อการปรับตัวของเด็ก บางครั้งจะพบว่าเด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่มากเกินไป (overprotection) หรือน้อยเกินไป(neglected) หรือขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม (improper stimulation) ตามสภาพของเด็กแต่ละคน 

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สาระต้องรู้ "น้ำนมแม่"

นมแม่ ต้องรู้
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
โดย  แพทย์หญิงสุวิมล  ชีวมงคล
(  กุมารแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนาการเด็ก)



ข้อดีของ การเลี้ยงลูกด้วย นมแม่
การเลี้ยงลูกด้วย นมแม่  ไม่ใช่เป็นเพียงการให้อาหารเพื่อให้ลูกอิ่ม และ ช่วยให้ลูกเติบโตเท่านั้น  แต่  การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  เป็นเรื่องของกระบวนการส่งเสริมพัฒนาการ และ การเจริญเติบโตของเด็กอย่างมีคุณภาพ  ซึ่งจะช่วยเอื้อโอกาสให้เด็กกลายเป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี  ความเป็นผู้มีจริยธรรม อดทน อดกลั้น และ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น อันเนื่องมาจาก

๑. สารอาหารใน นมแม่ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างเหมาะสม ตามอายุลูก ซึ่งจะช่วยให้ลูกฉลาด และ แข็งแรง  สารอาหารสำคัญ คือ ไขมันใน นมแม่ ที่จะไปห่อหุ้มเส้นใยประสาทในสมองเด็กที่กำลังเพิ่มการเชื่อมโยงการทำงานอย่างรวดเร็ว  เพื่อให้การทำงานของสมองเด็กสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   โปรตีนใน นมแม่ ที่จะช่วยลดโอกาสการเป็นโรคภูมิแพ้ในเด็ก  สารต้านการอักเสบใน นมแม่  ซึ่งจะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ และไม่สบายของเด็ก ทำให้เด็กไม่ต้องเสียโอกาสของการพัฒนาความสามารถไปกับความเจ็บป่วย   ซึ่งสารอาหารดังกล่าวทั้งหมด ไม่สามารถจะถูกทดแทนได้ด้วย นมผสม

๒. สัญชาตญาณความเป็นแม่ที่เพิ่มขึ้นจากการเพิ่มระดับของฮอร์โมนอ็อกซิโตซิน ( Oxytocin ) ในตัวแม่ขณะที่ลูกกำลังดูดนมจากอกแม่ที่จะช่วยให้แม่เป็นผู้มีจิตใจอ่อนโยน เปี่ยมด้วยความรักและเมตตา อันเนื่องมาจากความรู้สึกสงบ  เป็นสุข  เปี่ยมด้วยความรัก ที่แม่มีต่อลูก ที่เกิดขึ้นมากกว่าปกติในตัวแม่ขณะลูกกำลังดูด นมแม่ ซึ่งเด็กจะรู้สึกได้ถึงความรู้สึกอ่อนโยน ทำให้เด็กอารมณ์ดี และ เป็นสุข

๓.  กระบวนการโอบอุ้ม และ โต้ตอบ ระหว่างแม่และลูก ขณะลูกดูดนมจากอกแม่ ที่จะปูพื้นฐานสำคัญของกระบวนการเรียนรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าอย่างเหมาะสม ในเด็ก  เพราะขณะที่ลูกดูดนมจากอกแม่  ลูกจะสบตาแม่ เป็นการสื่อสารสำคัญที่ถ่ายทอดผ่านการมองเห็นในระยะที่เหมาะสม เพราะช่วงแรกเกิด การมองเห็นของเด็ก จะเหมือนคนสายตาสั้น ซึ่งจะค่อยๆ เปลี่ยนระดับการมองเห็นไปเป็นระดับปกติเมื่อเด็กอายุ ๑ ปี  นอกจากนี้ ขณะที่ลูกกำลังดูด นมแม่ มือลูกจะสัมผัสกับผิวแม่  จมูกลูกจะได้กลิ่นกายแม่  ลิ้นของลูกจะได้รับรส น้ำนมแม่ ร่วมกับความรู้สึกอิ่ม  สบาย และ ผ่อนคลาย  ขณะที่หูของลูกจะได้ยินเสียงที่กำลังเกิดขึ้นรอบตัว  ดังนั้น ประสาทสัมผัสทุกส่วนของเด็กจะถูกกระตุ้นให้เกิดการทำงาน  บนความรู้สึกดีๆที่แม่ถ่ายทอดสู่ลูก อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญ ของการสังเกต และ โต้ตอบอย่างเหมาะสมของเด็ก

ข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ได้หยุดอยู่ที่ตัวเด็ก ที่ช่วยให้เด็ก ฉลาด แข็งแรง ลดโอกาสการเป็นโรค และ มีความพร้อมต่อการพัฒนาเป็นผู้มีจริยธรรมที่ดี จิตใจอ่อนโยน และ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อผู้อื่นเท่านั้น  แต่ยังส่งผลโดยตรง ถึงแม่ ครอบครัว  สังคม และ ประเทศ  กล่าวคือ  แม่ จะลดโอกาสการเกิดมะเร็งเต้านม  ครอบครัวจะมีความสุขอันเนื่องมาจากการเป็นเด็กแข็งแรง มีพัฒนาการที่ดี  ไม่ต้องเปลืองเงินไปกับค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลลูก  และ การซื้อนมผสม  สังคม จะเปี่ยมไปด้วยคนที่มีจิตใจดี และ มีความสามารถเต็มตามศักยภาพ  ในขณะที่ประเทศมั่นคง เพราะสังคมดี และ เศรษฐกิจดี

ข้อควรรู้เมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
๑.      การเติบโตของเด็กกินนมแม่ จะแตกต่างจากเด็กกินนมผสม  ทั้งนี้ เด็กที่ได้กินนมแม่อย่างเหมาะสม จะเติบโตเร็วในช่วงแรก โดยเฉลี่ย ประมาณ ๖ เดือน จากนั้น การเติบโตของเด็กกินนมแม่หลายคน จะช้ากว่า เด็กที่กินนมผสม  อย่างไรก็ตาม ขณะที่กำลังเขียนข้อมูลนี้ กำลังอยู่ในระหว่างที่องค์การอนามัยโลก และ บุคลากรทางสาธารณสุขในประเทศไทยหลายท่านกำลังดำเนินการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาทำแผนผังการเติบโตของเด็กกินนมแม่ (Growth Chart) ซึ่งยังไม่เคยมีมาก่อน  (แผนผังการเติบโตของเด็กที่ใช้ในปัจจุบัน เป็นแผนผังการเติบโตของเด็กที่กินนมมสม)
๒.    แม่ทุกคนมีปริมานน้ำนมมากพอที่จะเลี้ยงลูก อย่ากังวลหากแม่บีบน้ำนมแม่ไม่ออกใน ๒ ๓ วันแรกหลังคลอด  เพราะในระยะนี้ น้ำนมแม่ยังมีปริมาณมากนัก แต่จะมีมากพอสำหรับลูก  ขอเพียงแค่ คุณแม่ตั้งใจจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  เชื่อมั่นว่าตนเองต้องมีน้ำนมพอ  ทำตัวเองให้ผ่อนคลายไม่เครียด  พยายามอดทนต่อความเหนื่อยที่ให้ลูกดูดนมทุก ๒- ๓ ชั่วโมง  อดทนต่ออาการเจ็บหรือเสียวมดลูกขณะลูกกำลังดูดนม เพราะ ฮอร์โมนอ็อกซิโตซิน ที่ช่วยเพิ่มสัญชาตญานความเป็นแม่ จะส่งผลทำให้มดลูกหดตัวเช่นกัน
๓.    เทคนิคสำคัญสู่ความสำเร็จของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่  คือให้ลูก ดูดเร็ว โดยให้ลูกดูดทันทีในห้องคลอด   ดูดบ่อย ทุก ๒ ๓ ชั่วโมง   ดูดถูกวิธี คือปากลูกงับให้ถึงลานนม สังเกตได้จากปากลูกจะบาน คางลูกแนบหน้าอกแม่ ดั้งจมูกชิด หรือเกือบชิดหน้าอกแม่
๔.    เลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว ๖ เดือนแรก ไม่ต้องกินน้ำ หรืออาหารอื่น เป็นข้อแนะนำของ องค์การอนามัยโลก ร่วมกับ องค์การยูนิเซฟ  ซึ่งได้จากการรวบรวมผลวิจัยจากประเทศต่างๆ  และสรุปเป็นข้อแนะนำในคู่มือการให้อาหารทารก ( Global Strategy of Infant and Young Child Feeding ) เมื่อปี ๒๕๔๖ ว่า  ทารกแรกเกิดทุกคนควรได้กินนมแม่อย่างเดียวไปจนอายุครบ ๖ เดือน แล้ว จึงให้นมแม่ร่วมกับน้ำ และอาหารอื่นที่เหมาะสมตามวัย จนลูกอายุ ๒ ปี หรือ นานกว่านั้น โดยอาหารเสริมที่จัดให้ลูกควรเป็นอาหารที่ผลิตเองในครัวเรีอน  สำหรับการให้นมแม่โดยไม่ให้น้ำ ซึ่งขัดแย้งกับวิธีปฏิบัติของแม่ส่วนใหญ่ในประเทศไทยนั้น  เหตุผลสำคัญที่ไม่จำเป็นต้องให้ลูกกินน้ำ คือ ในนมแม่มีน้ำเป็นจำนวนมากพอที่เด็กต้องการ  และ การให้เด็กกินน้ำหลังจากกินนมแม่จะลดสารต้านการอักเสบที่มีในนมแม่ เพราะน้ำจะไปล้างสารต้านการอักเสบที่ลูกได้รับจากการกินนมแม่ที่เคลือบในปากลูกหลังจากลูกกินนมแม่
๕.    ไม่จำเป็นต้องเช็ดถู ทำความสะอาดหัวนมก่อนให้ลูกดูดนมแม่  แต่ ควรจะดูว่าหัวนมตนเองมีขนาดสั้น ยาว หรือใหญ่กว่าปกติ ขณะตั้งครรภ์  เพราะหัวนมที่สั้น ยาว หรือใหญ่กว่าปกติอาจทำให้ลูกดูดนมแม่ได้ไม่ค่อยถนัด  ทั้งนี้หากแม่มีความยาวหัวนมสั้นกว่าปกติ สามารแก้ไขได้ขณะตั้งครรภ์ เพื่อให้ลูกดูดนมแม่ได้ง่ายหลังคลอด  ( ความยาวหัวนมปกติ คือ ๐.๕ ๑ เซนติเมตร )
๖.     แม่ที่ติดเชื้อ HIV ไม่ควรให้ลูกกินนมแม่  เพื่อลดโอกาสการผ่านเชื้อ HIV จากแม่สู่ลูก
๗.    การใช้มือบีบน้ำนมเก็บไว้ให้ลูก ดีกว่าใช้เครื่องปั๊มนม  เพราะนอกจากจะสะดวก และ ประหยัดแล้ว การบีบน้ำนมด้วยมือ จะทำให้ได้ปริมาณน้ำนมที่มากกว่าการใช้เครื่องปั๊ม
๘.    โดยทั่วไป  แม่ที่ให้ลูกดูดนมแม่ จะมีรูปร่าง และ น้ำหนักกลับมาเป็นปกติเหมือนตอนก่อนท้อง เมื่อลูกอายุ ประมาณ ๖ เดือน  ดังนั้น แม่ไม่จำเป็นต้องลดปริมาณอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก  แต่หลีกเลี่ยงการกินอาหารที่จะทำให้แม่อ้วนเท่านั้น

ข้อควรระวังเมื่อเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
๑.      การเลี้ยงลูกไม่ถูกวิธี เพราะจำกัดการโต้ตอบกับเด็กไว้เพียงการอุ้มลูกมาดูดนมแม่เท่านั้น คุณแม่มือใหม่หลายท่าน จะมีความรู้สึกเป็นห่วงกลัวลูกไม่อิ่ม ดังนั้น เมื่อลูกตื่น หรือ ร้อง จะคอยเอาลูกมาอุ้ม และ ให้กินนมแม่โดยลืมปล่อยลูกวางไว้กับเบาะเพื่อให้ฝึกคืบ หรือพลิกคว่ำพลิกหงาย  รวมถึงไม่ได้ฝึกให้ลูกคว้าของ จับของ หรือ สิ่งต่างๆรอบตัว  ดังนั้น ความฉลาดที่ลูกได้มาจากพ่อแม่ และ ได้เสริมจากการการกินนมแม่ เมื่อไม่ได้รับการฝึกฝน ก็จะไม่ได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพตามที่ควรจะเป็น ทำให้ดูเหมือนเด็กกินนมแม่บางคน พัฒนาการช้ากว่าปกติ
๒.    หัวนมแตก ขณะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพราะ ท่าอุ้มไม่ถูกวิธีขณะให้ลูกดูดนม  คุณแม่ที่ให้ลูกดูดนมแม่ แล้วพบว่า ต่อมา เกิดมีแผลที่หัวนม ให้ระวังว่าจะเกิดจากการให้ลูดดูดนมโดยปากลูกงับไม่ถึงลานนม ทำให้เกิดการเสียดสีของเหงือกลูก กับผิวหนังที่นมแม่ขณะที่ลูกดูดนมแม่  วิธีแก้ คือ ประคองคอลูก แล้วส่งศีรษะลูกมาให้ชิดกับหน้าอกแม่เพิ่มขึ้นเพื่อให้ปากลูกงับลานนม จะช่วยลดโอกาสการมีแผลเพิ่มที่หัวนม  สำหรับผิวหนังแม่ที่เป็นแผลไปแล้วนั้น รักษาโดยเอาน้ำนมแม่มาป้ายที่แผล แล้วผึ่งให้แห้ง ทำซ้ำได้เป็นระยะ จนกว่าแผลจะหาย ไม่จำเป็นต้องใช้ยาทา หรือ ยากินแก้อักเสบ

สิ่งที่ควรปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
๑.      การดูแลตัวเองของแม่  ทั้ง อาหารกาย  อาหารใจ  การดูแลตัวเองของแม่ขณะให้นมลูกเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะ ความเหนื่อย  ความหิว  และ ความเครียด จะทำให้การผลิตน้ำนมลดลง  ดังนั้น ควรกินอาหารให้ครบ ๕ หมู่ โดยมีปริมาณอาหารที่กินแต่ละมื้อ มากกว่าปริมาณอาหารที่แม่กินก่อนท้องประมาณ ๑ เท่าครึ่ง  ในกรณีที่แม่น้ำหนักตัวปกติตอนก่อนท้อง (ไม่อ้วน หรือ ผอมเกินไป )  ควรกินน้ำ โดยเฉพาะน้ำอุ่นเป็นระยะ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม โดยอาจจะดื่มน้ำ ๑ ถ้วย ก่อนมื้อที่ลูกจะดูดนมแม่ หรือ ก่อนแม่บีบน้ำนม  พยายามทำจิตใจให้ผ่อนคลายไม่เครียด  ด้วยวิธีที่ตนเองถนัด เช่น ฟังเพลง เป็นต้น เพื่อช่วยให้การผลิตน้ำนมแม่เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
๒.     บีบน้ำนมแม่เก็บไว้ ทุกครั้งที่หน้าอกคัด ในกรณีที่ลูกไม่สามารถดูดนมแม่ได้ เพื่อช่วยให้เกิดการผลิตน้ำนมแม่อย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา
๓.    ฝึกการให้ลูกดูดนม ทั้งท่านั่ง และ ท่านอน  เพื่อช่วยให้แม่ไม่ต้องทรมานกับการนั่งให้นมลูกในช่วงกลางคืน ซึ่งเป็นเวลาที่คุณแม่เองก็ง่วงเช่นกัน
๔.    เอื้อโอกาสสามีเข้ามามีส่วนร่วมในการเลี้ยงลูก คุณแม่หลังคลอดส่วนใหญ่ มีแนวโน้มจะกอดลูกไว้กับตัวอยู่แล้ว  ดังนั้น ในกลุ่ม แม่ที่ให้ลูกกินนมแม่ จึงมีความพร้อมจะอุ้มลูกไว้กับอกตัวเองนานกว่าปกติ  และ โดยธรรมชาติของเด็กที่ดูดนมแม่ระยะแรก จะนอนหลับทันทีเมื่อกินอิ่มและ ตื่นบ่อยเพราะหิว   จึงควรเปิดโอกาสให้คุณพ่อเข้ามามีส่วนร่วมในการเลี้ยงลูกตั้งแต่แรก ด้วยการสัมผัสลูก พูดคุยกับลูก และ เล่นกับลูก เวลาที่ลูกตื่น และ รอที่จะกินมื้อใหม่  นอกจากนี้ การที่คุณพ่อเข้ามาช่วยดูแลแม่ เช่น นวดหลัง นวดคอ และ นวดไหล่แม่ เป็นต้น จะช่วยสร้างความผ่อนคลายในตัวแม่ และ พร้อมที่จะอุ้มลูกให้ดูดนมแม่อย่างไม่ย่อท้อ
                                                                                        ที่มา : www.nommae.org

นมแม่...ทุนสมอง

วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

นิทานชายชรากับลังเหล็ก

กาลครั้งหนึ่ง ยังมีคุณลุงอยู่ท่านหนึ่ง ในช่วงวัยหนุ่มคุณลุงท่านนี้เป็นหัวหน้าคนงานอยู่ในเหมืองทองคำมีรายได้ดีมาก แต่คุณลุงท่านนี้ไม่เคยเก็บเงินเลยมีเท่าไรก็ใช้หมด เนื่องจากคุณลุงเป็นคนจิตใจดีใครมาหยิบยืมก็ให้ เลี้ยงเพื่อนฝูงตลอด คุณลุงมีเพื่อนเยอะมาก จนกระทั่งคุณลุงท่านนี้เกษียณอายุจากการทำงาน ปรากฏว่าไม่มีเงินเหลือเลยจากชีวิตการทำงานอันยาวนาน คุณลุงมีลูกอยู่ 5 คน เมื่อคุณลุงไม่มีเงินก็จำเป็นต้องไปอาศัยอยู่บ้านลูกๆ ทั้ง 5 คน
วันจันทร์ ก็ไปอยู่บ้านลูกสาว ก็ถูกลูกเขยพูดจากระทบกระเทียบ เช่น "ทำไมคุณพ่อคุณไม่ไปบ้านลูกคนอื่นบ้างนะ ผมจะทำอะไรก็อึดอัดจริงๆ "
วันอังคาร ก็ไปอยู่บ้านลูกชาย ก็ถูกหลาน และลูกสะใภ้กระทบกระเทียบ เช่น "รำคาญคุณปู่จังเลยกับข้าวที่หนูชอบดูสิคุณปู่ทานหมดเลย ทำไมคุณปู่ไม่ไปบ้านอื่นบ้าง" เป็นเช่นนี้ตลอด คุณลุงก็เปลี่ยนไปอยู่บ้านลูกคนนั้นทีคนนี้ที ก็ถูกลูกบ้าง ลูกเขยบ้าง ลูกสะใภ้บ้าง หลานบ้างพูดจาถากถางอยู่ตลอด แต่คุณลุงก็ต้องทน เพราะคุณลุงไม่มีเงินเก็บแม้แต่บาทเดียว
อยู่มาวันหนึ่ง คุณลุงตัดสินใจเรียกลูกๆ ทุกคนมาแล้วบอกว่า "พ่อจะไม่อยู่สัก 2 ปีนะลูก เพราะเพื่อนพ่อที่เป็นเจ้าของเหมืองทองคำมันเขียนจดหมายมาขอร้องให้พ่อไปช่วยงานที่เหมืองทองคำของมัน พ่อจำเป็นต้องไปช่วยเขาจริงๆ" ลูกๆ ได้ฟังดังนั้นก็ดีใจสนับสนุนเพื่อให้คุณลุงท่านนี้ไปให้พ้นๆ จะได้ไม่เป็นภาระอีกต่อไป
เมื่อครบ 2 ปี คุณลุงท่านนี้ก็กลับมาพร้อมกับลังเหล็กใบใหญ่ 1 ใบ ไปไหนแกก็ลากไปด้วย ลูกๆ ก็พากันแปลกใจและถามว่า "ลังอะไร" คุณลุงตอบว่า "เป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายที่ได้มาจากเหมืองทองคำของเพื่อน ถ้าใครดูแลพ่อจนถึงวาระสุดท้ายก็จะมอบสมบัติในลังเหล็กให้ทั้งหมด" ปรากฏว่า ลูกๆ พากันตื่นเต้น ต่างอาสามาดูแลคุณพ่อกันยกใหญ่
วันจันทร์ คุณลุงก็อยู่กับลูกสาวคนโต ลูกเขยกับหลานก็พากันเอาใจบีบนวดให้ หาของกินดีๆ มาให้ แต่ยังไม่ทันไรลูกชายคนที่สองก็มาตามให้ไปอยู่ด้วย และก็เช่นกันยังไม่ทันไร ลูกสาวคนที่สาม ก็มาตามให้ไปอยู่ด้วยอีก ปรากฏว่าลูกๆ ทั้ง 5 คน ของคุณลุงต่างแย่งกันเอาใจและปรนนิบัติคุณลุงท่านนี้อย่างดี แต่เวลาไปไหนคุณลุงก็จะลากลังเหล็กใบนี้ไปด้วยตลอด
เวลาผ่านไป 7 ปี คุณลุงท่านนี้เสียชีวิตลง หลังงานพิธีศพลูกๆ ทุกคนพากันมานั่งล้อมลังเหล็กใบนี้เพื่อแบ่งสมบัติกัน ลูกสาวคนโตเป็นคนเปิดฝาลังเหล็ก พบว่ายังมีผ้าสีขาวปิดอยู่อีกชั้นหนึ่ง และมีจดหมายฉบับหนึ่งวางอยู่ ลูกสาวคนโตก็เปิดอ่านให้น้องๆ ฟัง เนื้อความในจดหมายเขียนไว้ว่า
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าประมาทและอย่าคาดหวังว่าใครจะเลี้ยงดูเรา ให้เร่งเก็บออมเสียตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้มีชีวิตบั้นปลายที่สุขสบาย
ได้ฟังนิทานเรื่องนี้ทีไรให้รู้สึกสะท้อนใจทุกครั้ง และไม่เคยคิดว่า เป็นเพียงนิทานเพราะเหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ไม่เตรียมเก็บออมเงินเสียตั้งแต่เนิ่นๆ ....พึ่งพาใครไหนเรา..จะดีเท่าพึ่งพาตัวเราเอง

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

 การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย    
                นายแพทย์บวร งามศิริอุดม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวไว้ว่า" เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อแทบทุกคนในปัจจุบัน ต้องรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อว่า ไอน์ส-ไตน์ ไอน์สไตน์ มีความฉลาดทางปัญญา ( IQ) ประมาณ 180 ขณะที่คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 90-110 เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่สำคัญไว้ว่า ถ้าอยากจะให้ลูกฉลาด คุณแม่คุณพ่อควรจะเล่า นิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และถ้าจะให้ลูกฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรรู้ไหมครับ ไอน์สไตน์บอกว่า ต้องเล่า นิ ทานให้ลูกฟังหลายๆ เรื่อง คิดว่าคนที่ฉลาดเช่นนี้ พูดไว้แบบนี้ เราคงต้องเชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ "
          นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน
           นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป


วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

พัฒนาการเด็ก 6-18 เดือน

พัฒนาการเด็ก แรกเกิด-5 เดือน

เพลงนับเลข

บทความสำหรับเด็กเกี่ยวกับคณิตศาสตร์

 

ทักษะคณิตศาสตร์" สร้างได้...โดย กองบรรณาธิการนิตยสารรักลูก

เมื่อพูด ถึงคณิตศาสตร์ ผู้ใหญ่บางคนได้ฟัง ยังหนาวๆ ร้อนๆ แล้วสำหรับเด็กเล็กๆ การเรียนรู้เรื่องนี้จะเป็นสิ่งที่ยากเกินไปสำหรับเขาหรือไม่ ?คำตอบของคำถามข้างต้นนั้นคือ "ไม่ยากหรอกค่ะ" ถ้าเรารู้จักเนื้อหาและวิธีในการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็ก ซึ่งเริ่มต้นได้ง่ายๆ จากสิ่งรอบตัวเด็กนี่เอง...ทักษะทางคณิตศาสตร์ คือ ?ก่อนที่จะค้นหาวิธีส่งเสริมต่างๆ ให้กับเด็ก เราควรจะรู้ว่าทักษะทางคณิตศาสตร์นั้นหมายถึงเรื่องอะไรบ้าง เพราะมีหลายคนที่เข้าใจว่าคณิตศาสตร์ คือ เรื่องของจำนวนและตัวเลขเท่านั้น แต่ความจริงแล้วคณิตศาสตร์มีเนื้อหาที่กว้างกว่านั้นมาก เพราะยังหมายรวมถึงรูปทรง การจับคู่ การชั่งตวงวัด การเปรียบเทียบ การจัดลำดับ การจัดประเภท เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ก็คือคณิตศาสตร์เช่นเดียวกันเริ่มได้เมื่อไหร่ดีการเรียนรู้ ทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กแต่ละวัยย่อมแตกต่างกันไป เราสามารถส่งเสริมเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้ทุกด้านแต่ต่างกันตรงวิธีการค่ะ สำหรับเด็กวัย 3- 4 ขวบ จำเป็นต้องเรียนคณิตศาสตร์ผ่านสิ่งที่เป็นรูปธรรมมากเพราะเขายังไม่เข้าใจ สิ่งที่เป็นนามธรรม เช่น ให้เด็กสามขวบ ดูตัวเลข 2 กับ 3 แล้วเอาเครื่องหมายมากกว่าน้อยกว่าไปให้เขาใส่ เขาก็จะงงแน่นอน ว่าเจ้าสามเหลี่ยมปากกว้างนี้คืออะไร เด็กวัยนี้การเรียนเรื่องจำนวนตัวเลข ต้องผ่านสิ่งของที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ แต่ถ้าเป็นพี่ 5 หรือ 6 ขวบ จะเริ่มเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมหรือสัญลักษณ์ต่างๆ ได้แล้วเรียนรู้ได้จากสิ่งใกล้ตัว

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สอน ศิลปะเด็ก create for kids เทคนิคการขูดสี

ทักษะการสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย

  ทักษะการสอนศิลปะของเด็กปฐมวัย

ที่มา  :  บทความจากจุลสารเพื่อนอนุบาล แผนกอนุบาล
ฝ่ายการศึกษา อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ

ป้าลูกเกด
             ศิลปศึกษา เป็น กิจกรรมสร้างสรรค์ที่มีความสำคัญต่อการเรียนรู้ของเด็กในวัยปฐมวัย เพราะ ประสบการณ์ทางศิลปะนั้น  ไม่เพียงส่งเสริมการริเริ่มสร้างสรรค์เท่านั้น  หากยังช่วยส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กในลักษณะบูรณาการ ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าการจัดประสบการณ์และ กิจกรรมในลักษณะนี้มีคุณค่าและเอื้อต่อเด็กมากที่สุด  ประสบการณ์ศิลปะส่งเสริมพัฒนาการและทักษะของเด็ก ดังนี้
            - พัฒนาการทางด้านร่างกาย : พัฒนาการทางด้านกล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก และพัฒนาประสาทสัมพันธ์ระหว่างตากับมือ
            - พัฒนาการทางด้านสังคม : มีทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น  เรียนรู้จากกันและกัน (cooperative learning)  แลกเปลี่ยนและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   การรู้จักแบ่งปัน
            - พัฒนาการทางด้านอารมณ์-จิตใจ : สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง  (confidence) เห็นคุณค่าและภูมิใจในตนเอง (self- esteem)  การคิดดีและชื่นชมในผลงานของผู้อื่น  สร้างวินัยและความรับผิดชอบ  มีสุนทรียภาพ
            - พัฒนาการทางด้านสติปัญญา : มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ  รู้จักแก้ปัญหา  ทำงานแบบมีระบบ (วางแผน ตัดสินใจ และลงมือปฏิบัติ) รู้จักคิดและชี้แจงเหตุผล  สังเกต และเปรียบเทียบ ใช้สัญลักษณ์แทนวัตถุหรือประสบการณ์ในการสื่อความหมาย (ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอย่างยิ่งในพัฒนาการทางด้านการคิดของเด็ก) มีทักษะทางด้านภาษา  ด้านคณิตศาสตร์  และด้านวิทยาศาสตร์
            คุณครูเป็นส่วนสำคัญในการจัด ประสบการณ์ทางศิลปะที่ส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็ก  ฉะนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คุณครูต้องความเข้าใจการจัดกิจกรรมและบทบาทของ ตน  ในการจัดประสบการณ์ศิลปะ
คุณครูควร
            1.จัดเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ให้พร้อม และพอเพียงต่อความต้องการ ของนักเรียน  ในการเตรียมสถานที่นั้น  คุณครูควรจัดเนื้อที่ให้นักเรียนทำงานและเคลื่อนไหวได้สะดวก และปลอดภัย  อุปกรณ์ที่จัดให้ควรมีเพียงพอต่อนักเรียน เช่น ถ้ามีนักเรียน 5 คนที่วาดรูปด้วยสีโปสเตอร์  คุณครูควรที่จะเตรียมพู่กัน 5 อัน และจัดสี 1 ชุด ต่อนักเรียน 1-2 คน เพื่อที่เด็กจะได้ไม่ต้องรอคิวนาน  และรีบเร่งทำงานเพื่อที่จะแบ่งอุปกรณ์ให้กับเพื่อนที่รออยู่  หากในห้องเรียนมีอุปกรณ์น้อย  คุณครูควรที่จะกำหนดจำนวนนักเรียนที่จะเข้าร่วมในกิจกรรม  และใช้วิธีผลัดกัน
            2.กิจกรรมที่จัดควรเป็น กิจกรรมปลายเปิด  เช่น  ระบายสีด้วยสีเทียน และสีโปสเตอร์ตามอิสระ เพื่อที่นักเรียนจะได้เรียนรู้การใช้อุปกรณ์ด้วยตนเอง  มีอิสระในการสร้างสรรค์  ใช้ความคิดได้อย่างเต็มที่  รู้จักที่จะเลือกและตัดสินใจ (เลือกว่าจะวาดอะไร) และเรียนรู้ที่จะสื่อความคิดตนออกมาในรูปแบบที่ตนต้องการ
            3.กิจกรรมที่จัดควรมีความ เหมาะสมกับวัยและพัฒนาการ  (Developmental Appropriate) ในการจัดกิจกรรม คุณครูควรคำนึงถึงพัฒนาการของผู้เรียน กิจกรรมศิลปะควรมีความเหมาะสมต่อความ สามารถของเด็กในวัยนั้น ๆ  กิจกรรมบางอย่างถึงแม้ว่าเป็นกิจกรรมศิลปะให้เด็ก  แต่มันอาจจะไม่เหมาะกับเด็กในวัยปฐมวัย เช่น การพับกระดาษเป็นรูปต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ (origami)  จัดว่าไม่เหมาะสมสำหรับเด็กในวัยปฐมวัย  เนื่องจากมีขั้นตอนหลายขั้นและซับซ้อน ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องทำตามรูปแบบที่กำหนดขั้นโดยดูครูเป็น ตัวอย่าง และนักเรียนส่วนมากไม่สามารถทำทุกขั้นตอนได้ด้วยตนเอง และต้องรับ ความช่วยเหลือจากครูเกือบตลอดเวลา  ซึ่งบางทีครูกลายเป็นคนพับเสียเอง การที่นักเรียนส่วนมากต้องการความช่วย เหลือตลอดกิจกรรมนั้น แสดงให้เห็นว่า พัฒนาการของเด็กยังไม่พร้อมที่เขาจะทำงานประเภทนี้ได้ 
            4.Process not  product  คุณครูควรเน้นที่กระบวนการมากกว่าผลงาน  ระหว่างที่นักเรียนทำกิจกรรมศิลปะ  เขาได้ใช้กระบวนการการคิดต่าง ๆ  เพื่อที่จะสื่อความรู้สึกนึกคิดลงบนกระดาษ  การเรียนรู้นั้นเกิดขึ้นระหว่างการทำงาน  ผลงานเป็นเพียงผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงาน 
            5.ตั้งความคาดหวังให้เข้ากับ วัยของนักเรียน  เป็นเรื่องปกติที่คุณครูจะคาดหวังในนักเรียนของตน  หากแต่ความคาดหวังที่ตั้งขึ้นนั้น  ควรมีความเหมาะสมกับวัย  เช่น  เด็กวัย 3 ปี ยังเป็นช่วงเวลาที่เด็กเริ่มสนใจและเรียนรู้วิธีการใช้อุปกรณ์เครื่องเขียน ต่าง ๆ   กล้ามเนื้อมือนั้นยังไม่    แข็งแรงพอ  ที่จะบังคับทิศทางของอุปกรณ์ได้อย่างคล่องแคล่วแม่นยำ การที่คุณครูคาดหวังให้เด็กในวัยนี้  ระบายสีโดยไม่ออกนอกเส้น  หรือวาดรูปเป็นรูปร่างเจาะจงนั้น  คุณครูสร้างความคาดหมายที่ไม่เหมาะสมกับพัฒนาการของเด็กในวัยนั้น  ดังนั้นในการที่ครูจะรู้ว่าจะจัดกิจกรรมอย่างไรให้เหมาะสม   ครูต้องมีความเข้าใจและความรู้เรื่องพัฒนาการของผู้เรียนของตน  และมีความรู้เรื่องการจัดกิจกรรมศิลปะ เพื่อที่จะตั้งเป้าหมายและความหวังให้เข้ากับผู้เรียน
            6.ให้ความสนใจและคุณค่าต่อ กระบวนการทำงานและผลงานของนักเรียน  ซึ่งทำได้โดย พูดคุยกับนักเรียน  และมีการนำเสนอผลงาน  การที่คุณครูนำเสนอผลงานของนักเรียน  โดยการติดไว้ในที่บอร์ดในห้อง บ่งบอกให้นักเรียนรับรู้ว่า  งานของเขามีคุณค่า  ซึ่งจะทำให้เขาจะรู้สึกชื่นชมและภูมิใจในความสามารถของตน  การพูดเป็นอีกวิธีหนึ่งที่แสดงให้เห็นถึงความสนใจของครูที่มีต่อการทำงานของ นักเรียน  ซึ่งเฌอเม็คเคอร์ (1986) แนะนำว่าในการสนทนากับเด็ก คุณครูควรให้เด็กพูดและแสดงความคิดเห็นของตนโดยที่ครูไม่ควรที่จะเปรียบ เทียบ หรือแก้ไขผลงานของเด็ก และแนะนำว่า  เวลาพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับงานศิลปะ  ครูควรพูดถึงวิธีการใช้อุปกรณ์  และการใช้องค์ประกอบทางศิลปะ (elements of art) ในการวาดภาพ เช่น การใช้สี วิธีการวาดลายเส้น รูปทรง การจัดวางช่องว่างและใช้เนื้อที่ (space) เป็นต้น  (Schirrmacher, 1986) ตัวอย่าง เช่น “ในภาพนี้ คุณครูสังเกตว่า  มีเส้นหลายชนิด มีเส้นตรงข้างบน  เส้นโค้งบนมุมขวามือ ...” “หนูใช้ความพยายามมากเลยในการตัดกระดาษให้เป็นสามเหลี่ยมอันเล็ก ๆ” “ครูสังเกตว่าเวลาหนูวางขนแปรงให้แบนบนกระดาษและลากเส้นลงมา เส้นที่ออกมาจะหนา” เป็นต้น  การที่ครูพูดถึงงานของเด็กในลักษณะนี้   เป็นการส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา  และแสดงให้เด็กเห็นว่าตัวครูมีความสนใจในกระบวนการทำงาน และให้คุณค่าต่องานของเขา  ซึ่งทำให้เด็กรู้สึกภูมิใจในตนเอง  เชื่อมั่นในความสามารถและทักษะของตน  
            7.สนทนากับนักเรียน เรื่องการดูแลรักษา  การใช้อุปกรณ์   และกติกาในการปฏิบัติกิจกรรม  ในระยะเริ่มต้น  ก่อนที่จะทำกิจกรรม  ครูควรที่จะพูดคุยให้เหตุผลกับนักเรียนเกี่ยวกับการดูแลรักษาอุปกรณ์  เช่น  การที่จะให้นักเรียนทำการตัดแปะ  ครูอาจจะพูดและสาธิตให้นักเรียนดูว่า เมื่อใช้กรรไกรเสร็จแล้ว  ควรเก็บไว้ในตะกร้าเหมือนเดิม  หรือใช้ความผิดพลาดเป็นบทเรียน เช่น ถ้าครูเห็นนักเรียนเหยียบกรรไกร  คุณครูควรอธิบายให้เด็กเข้าใจว่าทำไมไม่ควรเหยียบ  และสอนให้นักเรียนรู้จักช่วยกันรักษาสมบัติของห้องเรียน 
            8.กำหนดเวลาให้เหมาะสม  กิจกรรมศิลปะควรจัดให้เป็นกิจกรรมประจำวัน เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่เด็กให้ความสนใจมาก และเป็นส่งเสริมพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน และทักษะทางด้านต่าง ๆ  ซึ่งในการจัดกิจกรรม ครูควรตั้งเวลาให้เหมาะสมกับกิจกรรม  การที่ครูตั้งเวลาไว้น้อย และเร่งเด็กให้ทำงานเสร็จภายในเวลาอันสั้นนั้น สิ่งที่สื่อออกมา คือ  กระบวนการทำงานนั้นไม่สำคัญเท่าการทำให้เสร็จในเวลา  ดังนั้น   เด็กก็จะรีบทำงานให้  เสร็จ ๆ ไป และไม่ใส่ใจในการทำงาน  เป็นปกติที่เด็กแต่ละคนจะใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติกิจกรรมแตกต่างกัน   ดังนั้นคุณครูควรมีความยืดหยุ่นในเวลา  ถ้านักเรียนทำงานไม่เสร็จ  คุณครูอาจจะให้เวลาเพิ่มเติม หรือให้เขาเก็บงานไว้ทำในวันต่อไป
            9.ให้นักเรียนมีส่วนร่วม (Students’ Involvement) นักเรียนควรมีส่วนร่วมในการจัดเตรียม และทำความสะอาด เช่น ช่วยหยิบและเก็บกระดาษ  และตะกร้าใส่ดินสอสี  หรือช่วยเช็ดโต๊ะ  เพื่อที่เขาจะได้รู้จักการช่วยเหลือตนเอง  และเข้าใจถึงหน้าที่และรับผิดชอบต่อตนเอง ผู้อื่น และห้องเรียน 

ข้อควรระวังในการจัดประสบการณ์ศิลปะ
            1.ให้คะแนน หรือรางวัล เช่น ดาว สติกเกอร์ เป็นต้น  การให้คะแนนหรือรางวัลนั้น  คุณครูบางท่านอาจจะมองว่า  เป็นการสร้างแรงเสริมให้กับเด็ก  แต่ในทางกลับกัน สิ่งที่เด็กจะได้ก็คือ  ความไม่กล้าที่จะลองเพราะกลัวว่าออกมาไม่สวย  ได้คะแนนไม่ดี  ความกลัวว่าผลงานของตนจะไม่ดีพอไม่สวยพอ  เปรียบเทียบและแข่งขันกับเพื่อน  นอกจากนี้ยังทำให้เด็กคิดว่าการทำงานต้องมีผลทางวัตถุตอบแทน  จึงให้ความสนใจที่ผลตอบแทนมากกว่ากระบวนการเรียนรู้   และยังจำกัดความคิดและสร้างสรรค์อย่างอิสระ 
            เนื่องจากนัก เรียนมุ่งหวังที่จะสร้างผลงานให้ถูกใจครู  เพื่อที่จะได้รับคะแนนดีหรือรางวัล  ซึ่งจริง ๆ แล้วศิลปะนั้นถือว่าเป็นการสื่อสารความรู้สึกนึกคิดอย่างหนึ่งของแต่ละ บุคคล  ดังนั้นศิลปะไม่ควรถูกมองว่ามีถูกหรือผิด  มีสวยมากหรือสวยน้อย  มีดีมากหรือดีน้อย  การที่เราให้คะแนน หรือรางวัล  ถือว่าเป็นการตั้งกฎเกณฑ์เพื่อตัดสินความคิด ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวนั้น  ไม่มีมาตรฐานเพราะขึ้นอยู่กับความคิดและความพอใจของผู้สอนแต่ละบุคคล  จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่ครูจะตัดสินผลงานของเด็กด้วยการให้คะแนน หรือรางวัล 
            2.ให้นักเรียนระบายสี และตัดแปะกระดาษในกรอบ  ศิลปะเป็นการสื่อความคิด ความรู้สึก ความเข้าใจ  โดยใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ สื่อสิ่งเหล่านั้นออกมาเป็นรูปธรรม    การให้นักเรียนทำงานศิลปะที่มีกรอบกำหนดนั้น (pre-draw)  เป็นการจำกัดความคิดสร้างสรรค์อย่างมาก  เนื่องจากรูปถูกกำหนดตายตัวไว้แล้ว  นักเรียนไม่สามารถจะปรับเปลี่ยนตามจินตนาการของตนได้   และต้องทำตามแบบฉบับที่ถูกกำหนดไว้  
            ครูควรคำนึงว่า  งานศิลปะนั้นเป็นงานที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์  ไม่ใช่ กิจกรรมที่เน้นความสวยงามในแบบที่ผู้ใหญ่คาดหวังไว้  กิจกรรมศิลปะควรเป็นกิจกรรมปลายเปิดที่ให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ  และสร้างสรรค์ผลงานตามความรู้สึกของตน
            3.ใช้กระดาษที่ตัดเป็นรูปร่าง สำเร็จแล้ว  การใช้กระดาษที่ตัดเป็นรูปร่างสำเร็จ (pre-cut shapes) ในการตัดแปะนั้น  สิ่งที่เด็กจะได้รับก็คือ การรู้จักแปะรูปด้วยกาว และการจัดวางเพื่อให้เกิดความเหมือน  กิจกรรมในลักษณะนี้เป็นงานที่จำกัดความคิดสร้างสรรค์  และเน้นเพียงความสวยงามและความเหมือนซึ่งขึ้นอยู่กับความพอใจและความคิดของ ผู้สอน  กิจกรรมไม่ได้สนับสนุนการเรียนรู้ของเด็ก   ดังนั้นคุณครูควรหลีกเหลี่ยงการตัดกระดาษสำเร็จรูปให้นักเรียน  ควรให้นักเรียนฉีก ตัด กระดาษเป็นรูปร่าง  ต่าง ๆ ตามความคิดส่วนตัว 

            4.วาด รูปเป็นตัวอย่างให้เด็กดูเป็นตัวอย่าง  การที่คุณครูวาดภาพให้เด็กดูเป็นตัวอย่างนั้น  ส่งถึงผลเสียมากกว่าผลดี  เพราะเป็นธรรมดาที่เด็กนั้นจะชื่นชมผลงานของครู  และต้องการที่จะสร้างสรรค์ผลงานให้ได้เหมือนกับของผู้ใหญ่ และเมื่อเขาไม่สามารถทำให้เหมือนได้  เขาก็จะรู้สึกท้อแท้ ผิดหวังในตนเอง และจะทำให้เขารู้สึกไม่ดีต่อกิจกรรมนั้น ๆ และต่อตนเอง    
            5.ช่วยแก้ปัญหา  โดยการทำให้  เวลาที่นักเรียนวาดอะไรไม่ได้  บางทีคุณครูก็จะช่วยด้วยการทำให้   ซึ่งวิธีนั้นทำให้นักเรียนไม่รู้จักอดทนต่อการแก้ปัญหา และไม่พยายามเรียนรู้ที่จะแก้ปัญหาด้วยตนเอง  ถ้านักเรียนวาดรูปไม่ได้  ครูควรพูดแนะนำเพื่อทำให้ขั้นตอนการวาดง่ายขึ้น  และใช้คำถามกระตุ้นเพื่อเด็กคิด  เช่น “หน้าของหมามีรูปทรงอย่างไง เป็นสี่เหลี่ยม หรือวงกลม และตัวหมาเป็นรูปทรงอะไร  ” หรือ ให้แนะนำให้เด็กรู้จักการค้นคว้าและหาข้อมูลรอบตัวในการแก้ปัญหา เช่น  “เราลองไปหารูปหมาในหนังสือเป็นตัวอย่างดีไหม  บางทีการที่เราได้เห็นรูป ”

ทักษะทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัย

ทักษะทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัย 




ทำไมทักษะทางสังคมและอารมณ์จึงมีความสำคัญ
                เด็กที่มีทักษะทางอารมณ์และสังคมที่มั่นคงจะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในโรงเรียน  และในชีวิต  นั่นคือเหตุผลที่ทำไมเราต้องช่วยพัฒนาให้เด็กมีความเชื่อมั่นในตนเอง  ให้รู้จักควบคุมตนเอง และสอนให้รู้วิธีการสร้างเพื่อน
                การพัฒนาความเชื่อมั่นในตนเอง  ความเชื่อมั่นในตนเองของเด็ก หมายถึง  การมีทัศนคติที่ดีในการใช้ชีวิต  ไม่กลัวที่จะพยายามทำสิ่งใหม่ๆ  ไม่ท้อถอยกับสิ่งที่ยากขึ้น  และมีความพยายามที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จ   เพื่อจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็ก  เราต้องวางแผนกิจกรรม  เตรียมสื่ออุปกรณ์ที่มีความท้าทาย  แต่ต้องไม่ยากจนเกินไป  เพื่อให้เด็กประสบผลสำเร็จ  เมื่อเราเห็นว่าเด็กสนใจอะไร  เราก็สนับสนุนให้เด็กได้ทดลอง  และหาคำตอบ ด้วยตนเองโดยผ่านการเล่น 
                การเรียนรู้ที่จะควบคุมตนเอง เด็กที่รู้จักควบคุมตนเองจะเป็นคนที่สามารถจัดการกับอารมณ์ของตัวเองได้  เมื่อโกรธหรือหงุดหงิดก็จะไม่แสดงออกด้วยการโวยวาย  ตะโกนเสียงดัง  แต่จะใช้การพูดคุยเพื่อแก้ปัญหา  ครูที่ดีจะสอนให้เด็กรู้จักวิธีการจัดการกับอารมณ์และปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยการพูดคุย  เช่น  ถ้ามีเพื่อนมาตีเขา  เขาควรจะพูดว่า ฉันไม่ชอบที่เธอตีฉัน  หยุดเดี๋ยวนี้   หรือ ถ้ามีเพื่อนมาแย่งของเล่น  เราก็จะสอนให้เขาบอกเพื่อนว่า ฉันยังเล่นของเล่นนี้อยู่  ถ้าเธออยากเล่นต้องรอให้ฉันเล่นเสร็จก่อน  
                การสร้างเพื่อน    เด็กทุกคนจำเป็นต้องมีเพื่อน  เด็กที่ไม่มีเพื่อนจะไม่มีความสุข   เขาจะรู้สึกโดดเดี่ยว  และรู้สึกว่าไม่มีใครชอบเขา  และอาจจะทำให้ไม่อยากไปโรงเรียนเมื่อเขาโตขึ้น  ครูที่ดีต้องช่วยเหลือและสอนให้เด็กรู้จักสร้างเพื่อน และรักษาเพื่อนไว้ด้วย
                เด็กๆ เรียนรู้ทักษะทางสังคมและอารมณ์จากการกระทำที่ผู้อื่นปฏิบัติต่อเขา   ตารางด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างพฤติกรรมและการสอนทักษะทางสังคมและอารมณ์



สื่งที่ครูทำ
สิ่งที่ครูพูด
เหตุผล
1. ครูนั่งลงและพูดคุยกับเด็กที่กำลังรู้สึกหงุดหงิด
ครูอยากรู้ว่าอะไรทำให้หนูหงุดหงิด บอกครูซิว่า เกิดอะไรขึ้น  ครูจะได้ช่วยหนูได้
เพื่อให้เด็กรู้ว่า เราสนใจเขา  เราเป็นห่วงเขา

2. บอกให้เด็กรู้ว่า ครูอยากเห็นพฤติกรรมเชิงบวก
อยู่ในห้องเรียนเราต้องเดิน  ถ้าหนูวิ่งหนูอาจจะหกล้มแล้วเจ็บ  ถ้าเล่นที่สนามจึงจะวิ่งได้
เพื่อช่วยให้เด็กเรียนรู้กติกา และบอกให้ทราบว่าทำไมต้องทำตาม กติกา
3. สนับสนุนให้เด็กช่วยเหลือเพื่อน
แนนกำลังทำงานสำคัญ  เขากำลังเช็ดโต๊ะหลังจากระบายสีเสร็จ  ใครจะช่วยแนนได้บ้าง
เพื่อกระตุ้นให้เด็กช่วยเหลือเพื่อนและแบ่งความรับผิดชอบในห้องเรียน
4. สอนให้เด็กรู้จักสังเกตการแสดงอารมณ์ทางสีหน้า ท่าทาง
ดูที่หน้าของเอซิ  เธอกำลังโกรธ  มาช่วยกันหาหน่อยว่าเกิดอะไรขึ้น  จะได้ช่วยเธอได้
เพื่อสอนให้เด็กเรียนรู้วิธีการแสดงออกทางอารมณ์  และพัฒนาการเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
5. ช่วยให้เด็กสงบและใช้คำพูดเพื่อแก้ไขปัญหา
หนูทั้งสองคนรู้สึกไม่พอใจและหงุดหงิด  หยุดทะเลาะกัน  หายใจเข้าลึกๆ  แล้วเล่าให้ครูฟังหน่อยว่าเกิดอะไรขึ้น  เราจะได้ช่วยกันแก้ปัญหาได้
เพื่อสอนให้เด็กรู้จักวิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์

วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การส่งเสริมความฉลาดสำหรับเด็กปฐมวัย

การส่งเสริมความฉลาดสำหรับเด็กปฐมวัย    
        พ่อแม่ทุกคนย่อมปรารถนาให้ลูกเติบโตเป็นคนดี ฉลาด มีความสุขประสบความสำเร็จในการศึกษาและหน้าที่การงาน เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ซึ่งการที่บุคคลจะประสบความสำเร๊จในชีวิตนั้น นอกจากจะมีความฉลาดทางเชาว์ปัญญาหรือ IQ ยังต้องมีความฉลาดทางอารมณ์ หรือ EQ ด้วย
      ปัจจุบันพ่อแม่จำนวนมากที่เคยได้ยินได้ฟังเรื่องราวเกี่ยวกับ IQ EQ หรือมีอื่นๆ เช่น IQ,EQ,AQ,MQ,SQ
    IQ = Inteligence quotient หมายถึงความฉลาดทางสติปัญญา วัดได้จากอายุสมองเทียบกับอายุจริง ปกติควรอยู่ที่ 90-100 เป็นการวัดความสามารถทางคิด วิเคราะห์ ความสามารถทางวิชาการ วัดความจำ การอ่านเขียน คำนวณ แต่ไม่ได้วัดด้านอื่นๆเช่น ความคิดสร้างสรรค์ ,ทักษะต่างๆในการทำงาน, ทักษะชีวิตประจำวันฯลฯ
การพัฒนา IQ  
         • 50% จากกรรมพันธุ์
         • 50% จากสิ่งแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดู ความรักความอบอุ่น เพราะฉนั้นต้องมีเวลาให้ลูกหลาน       อาหารครบห้าหมู่โดยเฉพาะ ปลา ถั่วเหลือง วิตามินบี ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โปรตีน, ประสบการณ์ต่างๆ เช่นจากการเล่น ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลุ่ม การทำงาน การทำงานศิลปะ ดนตรี กีฬาที่ชื่นชอบ ,     ได้ฟังนิทาน(วัยเด็กเล็ก) , มองเห็นคุณค่าตนเอง, สัมผัสกับสังคม ชิวิตประจำวัน , อารมณ์ดี ไม่เครียด , ออกกำลังกายอย่าน้อย 30 นาทีต่อวัน จะช่วยให้มีสมาธิ สดชื่น คิดอะไรได้เร็ว อดทน ไม่ซึมเศร้า ไม่ติดยาเสพติด
ความคิดในทางบวก มีความคิดอย่างสร้างสรรค์ จากการที่ได้รับคำชมเชยเสมอ ได้รับการยอมรับการกระทำต่างๆที่ดี
EQ = Emotional quotient คือความฉลาดทางอารมณ์         การพัฒนา EQ คือ
• รู้อารมณ์ของตนเอง
• เข้าใจอารมณ์ของผู้อิ่น เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เมตตาอารี ช่วยเหลือผู้อื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา
 • ควบคุมอารมณืของตนเองได้ ไม่หุนหันพลันแล่น ไม่อารมณ์ค้างนาน ไม่ให้ความรู้สึกเก่ามารบกวน การทำงานในปัจจุบัน ไม่ว่ารัก โกรธ หรือซึมเศร้าโกรธแล้วไม่ผูกใจเจ็บนาน ใจเย็นเมื่อมีสถานการณ์ยั่วยุ จะเป็นคนที่น่านับถือ และจะมีคนกล้าให้คำแนะนำ
                                         • มีระเบียบวินัยในตนเอง เคารพสิทธิของผู้อื่น
                                         • ขยันหมั่นเพียร อดทน กระตือรือร้น ไม่เฉื่อยชา มุ่งมั่นแน่วแน่ไม่ลดละ

  วิธีฝึกการพัฒนา EQ
  • มีตัวอย่างที่ดีให้เด็กเห็น อารมณ์เด็กขึ้นกับอารมณ์ผู้เลี้ยงดู
  • ไม่ต่อว่าเด็กต่อหน้าเด็กคนอื่นๆ หรือพูดเปรียบเทียบกับคนอื่นๆหรือพี่น้อง
  • หาทางชมเชยเด็ก แม้จะมีดีแค่หนึ่งอย่าง มีเสียสิบอย่าง เราก็ต้องใช้หนึ่งอย่างนั้นมาเป็นตัวชม เพื่อช่วยพัฒนาตัวอื่นๆ
  • เวลาลูกทะเลาะักันอย่ามีอารมณ์ร่วม
  • ไม่ปกป้องมากเกินไป เพราะจะทำให้เด็กขาดทักษะ แก้ปัญหาไม่เป็น
  • ไม่ตามใจลูกมากเกินไป หรือกังวลมากเกินไป
  • ให้เด็กรู้สึกว่าตัวเองเป็นผู้ถูกชม
  • เด็กอารมณ์ร้อนต้องทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ใจเย็น ไม่ต้องมีอารมณ์ร่วม
  • ฝึกหัดระเบีบยวินัยควรสร้างตั้งแต่เล็กๆ เช่น 7-8 เดือน เริ่มนั่ง กับรับประทานอาหาร ดูทีวีไม่เกิน 1 ชั่วโมงต่อวัน
  • ฝึกทุกอย่างด้วยความรัก ไม่ใช่การบังคับ แต่ด้วยเหตุผล
  • การดุ การลงโทษ ประณาม ไม่ใช่วิธีที่ถูกต้องเสมอไป เพราะเด็กจะต่อต้าน
  • ทำใจให้เบิกบาน เปิดหูเปิดตา อย่าหมกมุ่นแต่ในบ้าน
AQ=ADVERSITY QUOTIENT คือความสามารถในการแก้ปัญหา และการเผชิญกับวิกฤติ
AQ คือการวัดความสามารถ ในการจัดการกับปัญหาและวิกฤติ ใครที่สามารถจัดการได้ดี จะเป็นผู้นำและเจ้าของกิจการ ในโลกของปัจจุบันและอนาคต ใครที่มี AQ ดีจะเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส(Dr.Paul G stolt)ใครที่ไม่สามารถควบคุมAQได้ จะเป็นผู้พ่ายแพ้และเป็นได้แค่ลูกจ้างหรือตกงาน  


 เทคนิคการสร้าง AQ : ความสามารถในการแก้ไขปัญหา/อุปสรรค เป็นกลไกของสมอง เกิดจากการฝึกฝนการแก้ปัญหาต่างๆ การทำอะไรด้วยตนเอง การละเล่น ทั้งประสบการณ์ที่ได้ผ่านมาในชีวิต ตั้งแต่เมื่อเยาว์วัย