วันพุธที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2554

การเสริมพัฒนาการเด็ก

กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อเด็กปฐมวัย

หยิบยื่นโอกาสจัดกิจกรรมศิลปะ สร้างสรรค์เพื่อ เด็กปฐมวัย

     “ชุมชนแออัด” เป็นชุมชนที่มีปัญหาหลากหลาย หากแต่ในชุมชนเหล่านั้นยังมีเด็กและเยาวชนเป็นจำนวนมากที่เติบโตขึ้นมา ทำอย่างไรให้เขามีแนวคิด มีวิธีการที่จะหลุดพ้นจากปัญหาต่างๆ เหล่านั้น กระบวนการเรียนรู้มีส่วนสำคัญยิ่ง ในการสร้าง "ภูมิคุ้มกันภัย" ให้พวกเขา       
       อาจารย์ จักรพงษ์ แพทย์หลักฟ้า  ประธานโครงการทดลองใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อเด็กปฐมวัย อาจารย์สาขาศิลปศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) เปิดเผยว่า ในวันที่ 11 – 15 ก.ค.48 ทางสาขาศิลปศึกษาจะลงพื้นที่เขตลาดพร้าวซึ่งเป็นเขตชุมชนแออัด ไปจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์เพื่อเด็กปฐมวัยขึ้นที่โรงเรียนชุมชนลาดพร้าว ซอยลาดพร้าว 45
       
       “ชุดกิจกรรมที่ สาขาศิลปศึกษา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มศว สร้างขึ้นจะเป็นแผนการเรียนการสอนเพื่อดึงความสามารถที่หลากหลายมาเป็นจุด เริ่มต้นในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็ก โดยไม่ได้มองแบบแยกส่วน หรือดิ่งเดี่ยวเฉพาะทักษะความรู้เพียงอย่างเดียว แต่จะมองหลายๆ ด้านประกอบกัน”       
       “ทั้งนี้ จะใช้หลักการ CISST ซึ่งประกอบด้วยความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการ ความสามารถทางการรับรู้การสัมผัส ความสามารถในการออกแบบความสามารถในการวางแผน คิดอย่างเป็นระบบมากขึ้น และสามารถปรับเปลี่ยนรูปทรงได้”
       
       อาจารย์ จักรพงษ์ กล่าวต่ออีกว่า สังคมปัจจุบันนี้เราเชื่อกันว่าคนที่จะเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ต้องมีความ สามารถหลายด้าน มีความรู้ที่หลากหลาย สามารถเรียนรู้ในองค์รวมแห่งศาสตร์ต่างๆ ไม่ใช่เก่งเฉพาะด้านเฉพาะทาง หลักการ CISST สามารถตอบสนองการสร้างคนในลักษณะนี้ได้       
       ชุด กิจกรรมที่ใช้ในการทดลองครั้งนี้ ส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นแนวคิด CISSTแล้วจัดสร้างเป็นกิจกรรมศิลปะขึ้นมา เน้นเด็กปฐมวัยในวัย 1 – 3 ปี จำนวน 130 คน เด็กวัยนี้โครงสร้างสมองซีกขวาซึ่งเกี่ยวกับศิลปะ จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ดีมาก ถ้าส่งเสริมอย่างถูกทิศถูกทางและทำให้เกิดพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อไหร่ที่เราไปขัดขวางพัฒนาการ บีบบังคับ สร้างความเป็นระบบแบบแผนมากเกินไป ล้วนแล้วแต่เป็นตัวขัดขวางจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก
       
       ประเทศ ไทยยังไม่มีความเข้าใจในการพัฒนาเด็กให้มีความคิดสร้างสรรค์ จะเห็นว่าทุกวันนี้เราพยายามสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์ให้แก่เด็กไทยมาก ขึ้น หากแต่บางครั้งก็ยังไม่มีความเข้าใจมากพอ เด็กแต่ละวัยมีความแตกต่างกันในการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างกระบวนการคิดสร้าง สรรค์จึงต้องต่างกันไป       
       ในวัย 1 – 3 ปีต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ เราจะเน้นให้เด็กเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เมื่อเขาสนุกและเพลิดเพลิน แล้วจะทำให้เขาสามารถคิดอะไรได้แปลกใหม่อย่างมีอิสระและเสรีภาพ คนที่จะสร้างกระบวนการเรียนรู้ให้เด็กต้องเข้าใจ มิฉะนั้นจะไม่สามารถสร้างสถานการณ์ของการเรียนการสอนได้ ในการพัฒนาเสรีภาพการเขียนการคิดได้อย่างแท้จริง
       
       อาจารย์ จักรพงษ์ ยังสะท้อนปัญหาการเรียนการสอนเด็กปฐมวัยในประเทศไทยมีปัญหาหลายด้าน ตั้งแต่ขาดผู้ที่มีความรู้ในด้านต่างๆ ที่จะลงไปจัดการะบวนการเรียนการสอนในวงกว้าง ปัญหางบประมาณ โดยเฉพาะเด็กในชุมชนแออัดเขาขาดซึ่งโอกาส การขาดงบประมาณ ทำให้ชุมชนไม่สามารถจ้างครูหรือผู้เชี่ยวชาญมาสอนเด็กได้ ขณะที่เด็กในวัยนี้มีความต้องการและถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในการจดจำ       
       ใน ความเป็นจริงเด็กๆ ทุกที่ไม่ว่าจะร่ำรวย ยากดีมีจน สามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้ แต่เด็กที่อยู่ในชุมชนแออัด พ่อแม่หาเช้ากินค่ำ เวลาในการดูแลลูกเพื่อทำการบ้านพ่อแม่ยังไม่มีเวลา ดังนั้น การหยิบยื่นโอกาสนี้ให้เด็กในชุมชนแออัดมีความจำเป็นมาก       
       “ผมจะนำนิสิต และอาจารย์จากสาขาวิชา ช่วยกันวางแผนการสอน และให้นิสิตได้ลงพื้นที่ช่วยสอนเสมือนพี่ช่วยน้อง”
       
       แม้ จะเป็นแผนการลงพื้นที่ในระยะสั้นๆ เพียง 5 วัน แต่อาจารย์จักรพงษ์ ก็คาดหวังว่าผลที่ออกมาจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งเอาไว้ เนื่องเพราะ ไม่ได้มองผลงานเด็กที่ได้สร้างผลงานเพียงแค่นั้น ตรงนั้นถือเป็นผลพลอยได้ สิ่งสำคัญที่เด็กได้รับก็คือ กระบวนการในระหว่างที่ทำกิจกรรมโดยจะดูความสนุก เพลิดเพลิน การมีส่วนร่วม
       มี การสร้างแบบทดสอบขึ้นมาเพื่อดู ปฏิกิริยาของเด็ก สังเกตพฤติกรรมเด็กที่ได้ร่วมทำกิจกรรมเรียนรู้กัน โดยครูอาจารย์ที่อยู่ในชุมชน กรรมการชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมนี้ด้วย
       
       “สิ่ง ที่ได้ในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ มองว่า จะเกิดความสัมพันธ์ขึ้นระหว่างชุมชนลาดพร้าว โรงเรียนซึ่งเป็นศูนย์เด็กเล็ก มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  นิสิตและอาจารย์ในสาขาศิลปศึกษา โดยในอนาคตอาจจะทำแผนทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อดูความคิดสร้างสรรค์เด็กเป็น ระยะๆ ก็อาจทำได้”อาจารย์จักรพงษ์สรุปทิ้งท้าย