วันพฤหัสบดีที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2553

นิทานชายชรากับลังเหล็ก

กาลครั้งหนึ่ง ยังมีคุณลุงอยู่ท่านหนึ่ง ในช่วงวัยหนุ่มคุณลุงท่านนี้เป็นหัวหน้าคนงานอยู่ในเหมืองทองคำมีรายได้ดีมาก แต่คุณลุงท่านนี้ไม่เคยเก็บเงินเลยมีเท่าไรก็ใช้หมด เนื่องจากคุณลุงเป็นคนจิตใจดีใครมาหยิบยืมก็ให้ เลี้ยงเพื่อนฝูงตลอด คุณลุงมีเพื่อนเยอะมาก จนกระทั่งคุณลุงท่านนี้เกษียณอายุจากการทำงาน ปรากฏว่าไม่มีเงินเหลือเลยจากชีวิตการทำงานอันยาวนาน คุณลุงมีลูกอยู่ 5 คน เมื่อคุณลุงไม่มีเงินก็จำเป็นต้องไปอาศัยอยู่บ้านลูกๆ ทั้ง 5 คน
วันจันทร์ ก็ไปอยู่บ้านลูกสาว ก็ถูกลูกเขยพูดจากระทบกระเทียบ เช่น "ทำไมคุณพ่อคุณไม่ไปบ้านลูกคนอื่นบ้างนะ ผมจะทำอะไรก็อึดอัดจริงๆ "
วันอังคาร ก็ไปอยู่บ้านลูกชาย ก็ถูกหลาน และลูกสะใภ้กระทบกระเทียบ เช่น "รำคาญคุณปู่จังเลยกับข้าวที่หนูชอบดูสิคุณปู่ทานหมดเลย ทำไมคุณปู่ไม่ไปบ้านอื่นบ้าง" เป็นเช่นนี้ตลอด คุณลุงก็เปลี่ยนไปอยู่บ้านลูกคนนั้นทีคนนี้ที ก็ถูกลูกบ้าง ลูกเขยบ้าง ลูกสะใภ้บ้าง หลานบ้างพูดจาถากถางอยู่ตลอด แต่คุณลุงก็ต้องทน เพราะคุณลุงไม่มีเงินเก็บแม้แต่บาทเดียว
อยู่มาวันหนึ่ง คุณลุงตัดสินใจเรียกลูกๆ ทุกคนมาแล้วบอกว่า "พ่อจะไม่อยู่สัก 2 ปีนะลูก เพราะเพื่อนพ่อที่เป็นเจ้าของเหมืองทองคำมันเขียนจดหมายมาขอร้องให้พ่อไปช่วยงานที่เหมืองทองคำของมัน พ่อจำเป็นต้องไปช่วยเขาจริงๆ" ลูกๆ ได้ฟังดังนั้นก็ดีใจสนับสนุนเพื่อให้คุณลุงท่านนี้ไปให้พ้นๆ จะได้ไม่เป็นภาระอีกต่อไป
เมื่อครบ 2 ปี คุณลุงท่านนี้ก็กลับมาพร้อมกับลังเหล็กใบใหญ่ 1 ใบ ไปไหนแกก็ลากไปด้วย ลูกๆ ก็พากันแปลกใจและถามว่า "ลังอะไร" คุณลุงตอบว่า "เป็นสมบัติชิ้นสุดท้ายที่ได้มาจากเหมืองทองคำของเพื่อน ถ้าใครดูแลพ่อจนถึงวาระสุดท้ายก็จะมอบสมบัติในลังเหล็กให้ทั้งหมด" ปรากฏว่า ลูกๆ พากันตื่นเต้น ต่างอาสามาดูแลคุณพ่อกันยกใหญ่
วันจันทร์ คุณลุงก็อยู่กับลูกสาวคนโต ลูกเขยกับหลานก็พากันเอาใจบีบนวดให้ หาของกินดีๆ มาให้ แต่ยังไม่ทันไรลูกชายคนที่สองก็มาตามให้ไปอยู่ด้วย และก็เช่นกันยังไม่ทันไร ลูกสาวคนที่สาม ก็มาตามให้ไปอยู่ด้วยอีก ปรากฏว่าลูกๆ ทั้ง 5 คน ของคุณลุงต่างแย่งกันเอาใจและปรนนิบัติคุณลุงท่านนี้อย่างดี แต่เวลาไปไหนคุณลุงก็จะลากลังเหล็กใบนี้ไปด้วยตลอด
เวลาผ่านไป 7 ปี คุณลุงท่านนี้เสียชีวิตลง หลังงานพิธีศพลูกๆ ทุกคนพากันมานั่งล้อมลังเหล็กใบนี้เพื่อแบ่งสมบัติกัน ลูกสาวคนโตเป็นคนเปิดฝาลังเหล็ก พบว่ายังมีผ้าสีขาวปิดอยู่อีกชั้นหนึ่ง และมีจดหมายฉบับหนึ่งวางอยู่ ลูกสาวคนโตก็เปิดอ่านให้น้องๆ ฟัง เนื้อความในจดหมายเขียนไว้ว่า
นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า อย่าประมาทและอย่าคาดหวังว่าใครจะเลี้ยงดูเรา ให้เร่งเก็บออมเสียตั้งแต่เนิ่นๆ จะได้มีชีวิตบั้นปลายที่สุขสบาย
ได้ฟังนิทานเรื่องนี้ทีไรให้รู้สึกสะท้อนใจทุกครั้ง และไม่เคยคิดว่า เป็นเพียงนิทานเพราะเหตุการณ์แบบนี้อาจเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ไม่เตรียมเก็บออมเงินเสียตั้งแต่เนิ่นๆ ....พึ่งพาใครไหนเรา..จะดีเท่าพึ่งพาตัวเราเอง

การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย

 การเล่านิทานสำหรับเด็กปฐมวัย    
                นายแพทย์บวร งามศิริอุดม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กล่าวไว้ว่า" เชื่อว่าคุณแม่คุณพ่อแทบทุกคนในปัจจุบัน ต้องรู้จักนักวิทยาศาสตร์ชื่อก้องโลกที่ชื่อว่า ไอน์ส-ไตน์ ไอน์สไตน์ มีความฉลาดทางปัญญา ( IQ) ประมาณ 180 ขณะที่คนทั่วไปมีไอคิวประมาณ 90-110 เท่านั้น เขาได้ให้ข้อคิดที่สำคัญไว้ว่า ถ้าอยากจะให้ลูกฉลาด คุณแม่คุณพ่อควรจะเล่า นิทานให้ลูกฟังเป็นประจำ และถ้าจะให้ลูกฉลาดมากยิ่งขึ้น ทำอย่างไรรู้ไหมครับ ไอน์สไตน์บอกว่า ต้องเล่า นิ ทานให้ลูกฟังหลายๆ เรื่อง คิดว่าคนที่ฉลาดเช่นนี้ พูดไว้แบบนี้ เราคงต้องเชื่อว่าน่าจะเป็นอย่างนั้นจริงๆ "
          นิทานคือ โลกของภาษา ภาพและหนังสือที่ปรากฏบนหนังสือนิทาน คือโลกของภาษา การอ่านหนังสือให้ลูกฟังจึงมีความสำคัญมาก ต่อการพัฒนาของเด็ก เปรียบเหมือนอาหารมื้อหนึ่งของวัน เพราะเป็นอาหารสมองและอาหารใจของลูก พ่อแม่ทุกคนอยากให้เด็กรักการอ่านหนังสือ และเรียนเก่ง การทำให้เด็กรักการอ่านหนังสือไม่ยากเพราะเด็ก มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสนุกสนาน ถ้าได้หนังสือที่ชอบและยากอ่าน
         นิทานสำหรับเด็กปฐมวัยควรเป็นหนังสือภาพสำหรับเด็ก ซึ่งหมายถึงหนังสือที่พ่อแม่อ่านให้เด็กฟัง ไม่ใช่หนังสือสำหรับเด็กอ่าน การเล่านิทานให้ลูกฟังด้วยเสียงตนเอง ใช้ภาษาที่ดี เวลาเล่า ความรู้สึกของผู้เล่าจะผ่านไปสู่ตัวลูกด้วย ถ้าผู้เล่านิทานรู้สึกตื่นเต้น ลูกก็จะรู้สึกตื่นเต้นไปด้วย ความรู้สึกร่วมกันระหว่างพ่อแม่และเด็กระหว่างการเล่านิทาน จึงเปรียบเสมือนสายใยผูกพันระหว่างพ่อแม่ลูก การเล่านิทานแม้เพียง 5 - 10 นาทีต่อเล่ม แต่ผลที่มีต่อลูกและความสุขในครอบครัวนั้นมหาศาล ลูกจะได้รับการพัฒนาทักษะการฟังและการพูด สร้างจินตนาการแก่เด็ก ฝึกสมาธิให้เด็กรู้จักสำรวจจให้จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ฟัง ซึ่งเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อม ด้านการอ่านหนังสือ และปลูกฝังนิสัยรักการอ่านให้แก่เด็กไปพร้อมกัน
           นิทานสำหรับเด็กปฐมวัย
       ความเหมาะสมของนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยจำเป็นต้องคำนึงถึงความสนใจ การรับรู้และความสามารถตามวัยของเด็ก เป็นสำคัญ จึงยังเกิดประโยชน์ที่แท้จริงต่อการเรียนรู้ของเด็ก เด็กจะเริ่มรับรู้นิทาน จากภาพที่มองเห็นและเสียงที่ได้ยิน โดยรู้ความหมายไปทีละเล็กทีละน้อย จนสามารถเชื่อมโยงภาพ และคำบอกเล่าที่ได้ยิน ตลอดจนจดจำเนื้อหาและเรื่องราวต่างๆ ที่นำไปสู่การอ่านตัวหนังสือได้อย่างมีความหมายต่อไป