ปัญหาพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี
ลักษณะพฤติกรรมเด็กวัย 1-3 ปี
จาก การศึกษาพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กวัย 1-3 ปี พบว่า เด็กวัยนี้มีการเจริญเติบโตของเซลล์ประสาทอย่างรวดเร็ว โดยมีการสร้างเส้นใยประสาทและจุดเชื่อมต่อ (synapse) ของใยประสาท ซึ่งใยประสาทเหล่านี้มีผลต่อการเรียนรู้ ความคิด ความจำ ตลอดทั้งพฤติกรรมและพัฒนาการของเด็ก ประกอบกับธรรมชาติของเด็กวัยนี้เริ่มมีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายจากการค้นคว้า และสำรวจสิ่งใหม่ๆ รอบตัว มีความเป็นตัวของตัวเอง มีความพร้อมทางทักษะของพัฒนาการมากขึ้น สามารถยืน เดิน วิ่ง ได้ด้วยตนเอง โดยที่เด็กรู้สึกว่าตนเองสามารถควบคุมเหตุการณ์ต่างๆ ได้ และเกิดความภาคภูมิใจในงานที่ตนเป็นผู้กระทำสำเร็จ บางครั้งอาจพบว่าเด็กแสดงปฏิกิริยาตอบโต้กับเหตุการณ์ต่างๆ บางอย่างไม่เหมาะสม ซึ่งแสดงออกมาในรูปของพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าเด็กวัยนี้เป็นวัยที่สำคัญต่อการพัฒนาพฤติกรรมและการ เรียนรู้ทักษะของพัฒนาการในทุกด้าน
ซึ่งปัญหาของ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กวัยนี้ เป็นปัญหาที่ค่อนข้างเข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อน ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และพัฒนาการ จะเป็นลักษณะของการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งถ้าเด็กได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เหมาะสม โดยขาดการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูแล้วนั้น ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมขึ้นอย่างง่ายดาย ตลอดทั้งสภาวะการณ์ทางสังคมในปัจจุบันมีสิ่งล่อแหลมต่อการเกิดพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสม พ่อแม่มีทัศนคติต่อเทคโนโลยีค่อนข้างมาก โดยเน้นที่วัตถุมากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กโดยตรง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ขาดความเข้าใจในพัฒนาการและมีวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้มีผลต่อปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กทั้งสิ้น
ซึ่งปัญหาของ พฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับเด็กวัยนี้ เป็นปัญหาที่ค่อนข้างเข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อน ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต และพัฒนาการ จะเป็นลักษณะของการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งถ้าเด็กได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อมอย่างไม่เหมาะสม โดยขาดการดูแลเอาใจใส่จากพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูแล้วนั้น ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาทางพฤติกรรมขึ้นอย่างง่ายดาย ตลอดทั้งสภาวะการณ์ทางสังคมในปัจจุบันมีสิ่งล่อแหลมต่อการเกิดพฤติกรรมที่ ไม่เหมาะสม พ่อแม่มีทัศนคติต่อเทคโนโลยีค่อนข้างมาก โดยเน้นที่วัตถุมากกว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับเด็กโดยตรง ขาดการดูแลเอาใจใส่ ขาดความเข้าใจในพัฒนาการและมีวิธีการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้มีผลต่อปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กทั้งสิ้น
ชนิดของพฤติกรรมที่เป็นปัญหา
อาจจำแนกตามสาเหตุได้ดังนี้
1. พันธุกรรม ปัญหาลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่าง เช่น เด็กกลุ่มอาการดาวน์ เด็กกลุ่มนี้มี
ระดับ สติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติ เรียนรู้ช้า มีความสนใจสั้น มีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง ไม่มีสมาธิ เด็กเหล่านี้มีการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ ไม่คล่องตัวเนื่องจากกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียก
2. สิ่งแวดล้อม พฤติกรรมที่เป็นปัญหาส่วนใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวเด็ก
แทบ ทั้งสิ้น สภาพครอบครัว การเลี้ยงดูของคุณพ่อคุณแม่ ผู้ปกครอง มีอิทธิพลสูงต่อพฤติกรรมที่เกิดขึ้น สิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เอื้ออำนวย ทำให้เกิดสภาพความกดดัน และมีผลต่อการปรับตัวของเด็ก บางครั้งจะพบว่าเด็กได้รับการดูแลเอาใจใส่ที่มากเกินไป (overprotection) หรือน้อยเกินไป(neglected) หรือขาดการกระตุ้นที่เหมาะสม (improper stimulation) ตามสภาพของเด็กแต่ละคน