วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

เพลงกับเด็กปฐมวัย

เพลงกับเด็กปฐมวัย

แนวทางการจัดกิจกรรมเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
เพลงจัดเป็นสื่อการเรียนรู้ที่ สำคัญต่อพัฒนาการของเด็กปฐมวัย เช่นเดียวกับการเล่นและเล่านิทาน เนื่องจากเพลงช่วยสร้างเสริมให้เด็กเกิดความเพลิดเพลินและกล่อมเกลาให้เด็ก เป็นคนมีจิตใจอ่อนไหว รักเสียงเพลง และดนตรี ทำให้ผ่อนคลายอารมณ์และรู้สึกมีชีวิตชีวาในการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งปลูกฝังค่านิยมวัฒนธรรม และมีลักษณะนิสัยที่ดีงาม

ประเภทของเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
เพลงเด็กมีหลายประเภทและหลายลักษณะตั้งแต่ในอดีตจนปัจจุบัน ทั้งที่มีมาแต่เดิมและมีการแต่งขึ้นใหม่สำหรับร้องเล่นทั่วไป เพื่อทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทร้อยกรองหรือบทกลอนสำหรับกล่อมเด็ก
ส่วน ใหญ่มีเนื้อหาบรรยายชีวิต และความเป็นอยู่ที่สะท้อนถึงความเอื้ออาทรรักใคร่ผูกพันที่แม่มีต่อลูก ซึ่งจะพบเนื้อหาของเพลงแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น เพลงกล่อมเด็กภาคอีสานว่า "แม่ไปไร่สิหมกไข่มาหา แม่ไปนาสิหาปลามาป้อน" เพลงกล่อมเด็กภาคกลาง "กาเหว่าเอย ไข่ไว้ให้แม่กาฟัก" เพลงกล่อมเด็กมักแฝงปรัชญาคำสอนไว้อย่างแยบคาย ให้คนได้คิดเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกที่ต้องให้ความรัก
เพลงประกอบเด็ก เป็นบทร้องร้อยกรอง / คำคล้องจอง หรือบทปลอบเด็กสำหรับ ร้องปลอบเด็กร้องไห้โยเยบ่อยให้เงียบ และเกิดความเพลิดเพลิน ตัวอย่างเช่น "กุ๊กๆ ไก่ เลี้ยงลูกจนใหญ่ ไม่มีนมให้ลูกกิน ลูกร้องเจี๊ยบๆ แม่ก็เรียกไปคุ้ยดิน ทำมาหากิน ตามประสาไก่เอย" เพลงปลอบเด็กนี้ จะต้องไห้เด็กฟังอย่างเดียวหรืออาจทำท่าทางประกอบด้วยก็ได้
เพลงเด็กเล่นเป็นบทร้อยกรอง หรือบทร้องเล่นของเด็กที่เป็นบทกลอนสั้นๆทำนอง ง่าย ให้ได้ร้องเล่นเพื่อความสนุกสนาน หรือร้องล้อเลียนหยอกล้อกันเนื้อความบางส่วนอาจไม่มีความหมาย แต่มุ่งให้จังหวะคล้องจอง และสัมผัสที่ไพเราะเป็นการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้คำศัพท์ทางภาษามากขึ้น และฝึกนิสัยในการจำ ตัวอย่าง เช่น "ตั้งไข่ล้มต้มไข่กิน ไข่ตกดิน เก็บกินไม่ได้"
บทร้องประกอบการเล่น เป็นร้องที่เป็นบทเพลงทำนองบทกลอนสั้นๆที่ ร้องประกอบการละเล่น เพลงส่วนใหญ่ที่ใช้ร้องจะให้จังหวะ ให้ความพร้อมเพรียงในการเล่นเกม เนื้อเพลงบางเพลงยังอธิบายถึงวิธีการเล่นด้วย ตัวอย่างเช่น "มอญซ่อนผ้า ตุ๊กตาอยู่ข้างหลัง ไว้โน่นไว้นี้ ฉันจะ ตีก้นเธอ" "โพงพางเอย ปลาเข้าลอด ปลาตาบอด เข้าลอดโพงพาง" การละเล่นนี้ยังมีประโยชน์ในการออกกำลังกาย การเล่นร่วมกันการออกเสียงภาษา การรู้จักช่วยเหลือกัน และเสริมสร้างความรู้สึกสุนทรีย์จากสัมผัสคล้องจองไพเราะด้วย
เพลงเด็กแต่งขึ้นใหม่ เป็นบทเพลงที่ใช้ประกอบการสอนเด็กปฐมวัยเป็น เนื้อเรื่องที่มีความหมาย และสามารถทำท่าทางประกอบร้องได้ เพื่อจูงใจให้เด็กรู้สึกสนุกสนานและเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ตัวอย่างเช่น เพลงดื่มนม เพลงเก็บของเล่น เพลงนิ้วมือจ๋า เพลงแปรงฟัน

การเลือกเพลงสำหรับเด็กปฐมวัย
เพลงของเด็กควรมีเนื้อร้องง่ายๆ สั้นๆ คำซ้ำๆ เสียงไม่สูงหรือต่ำเกินไปทำนองง่าย จังหวะชัดเจนไม่ช้าหรือเร็วเกินไป และควรเลือกให้เหมาะกับพัฒนาการเรียนรู้และความสามารถทางภาษาของเด็ก โดยเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรเลือกบทร้องที่เป็นคำคล้องจองง่ายๆ ส่วนเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป เนื้อร้องอาจยาวขึ้นได้

วิธีการแนะนำเพลงให้เด็ก
การปลูกฝังความสนใจในเพลงให้กับ เด็ก ควรเริ่มต้นตั้งแต่เล็กโดยผู้ใหญ่ร้องเพลง หรือเปิดเพลงให้เด็กฟังอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงแรกเด็กจะสนใจจังหวะและเคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะ และเริ่มจดจำเนื้อร้องในเพลงเมื่อได้ยินเพลงเดิมซ้ำบ่อยๆ ในการแนะนำเพลงให้กับเด็กควรดำเนินการ ดังนี้
- นำเสนอเพลงที่มีเนื้อร้องสั้นๆ มีคำซ้ำๆ และมีทำนองง่าย โดยชักชวนให้เด็กฟังเพลงด้วยกันก่อน เด็กชอบฟังเพลงซ้ำๆ
- เปิดโอกาสให้เด็กแสดงออกตามความต้องการ เด็กจะร้องตาม ถูกหรือผิดควรให้โอกาสเด็กได้เรียนรู้อย่างค่อยเป็นค่อยไปด้วยความมั่นใจ
- ฝึกให้เด็กรู้จักเคาะจังหวะ เด็กมักมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อเสียงจังหวะเพลง อาจให้เด็กปรบมือตามจังหวะ หรือเคาะเครื่องดนตรีโดยไม่คาดหวังความถูกผิด

การเกิดฟันผุในเด็กเล็ก และการแปรงฟันในเด็ก

เกร็ดความรู้ประจำเดือนมกราคม 2553

คลินิกทันตกรรมสำหรับเด็ก

เรื่อง การเกิดฟันผุในเด็กเล็ก และการแปรงฟันในเด็ก

โดย อ.ทพ.วุฒิกุล ธนากาญจนภักดี

ปัญหาที่สำคัญปัญหาหนึ่งของระบบทันตสาธารณสุขในประเทศไทยนั่นก็คือการเกิด โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย จะเห็นได้จากการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 6 พ.ศ. 2550 พบว่าเด็กไทยอายุ 3 ปีมีอัตราการเกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมสูงถึงร้อยละ 61.37 และเด็กไทยอายุ 5 ปีมีอัตราการเกิดฟันผุในฟันน้ำนมสูงถึงร้อยละ 80.64 ทำให้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เจ้าหน้าที่ทางทันตสาธารณสุขทุกคนต้องร่วมมือ กันในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวนี้
การเกิดฟันผุในเด็กปฐมวัยได้มีผู้ศึกษาและให้คำจำกัดความไว้หลายชื่อ จนในปี ค.ศ. 1994 The Center for Disease Control and Prevention (CDC) ได้มีการประชุมที่ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยเสนอคำจัดกัดความเพื่อให้มีความหมายครอบคลุมการเกิดโรคในชื่อว่า Early Childhood Caries (ECC) หรือในภาษาไทยใช้คำแทนว่า “โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย” ในปี ค.ศ. 1999 The National Institute of Dental and Craniofacial Research (NIDCR) ได้กำหนดเกณฑ์ในการวินิจฉัยเพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน โดยมีนิยาม โรคฟันผุในเด็กปฐมวัย หมายถึง การมีฟันผุชนิดที่เป็นรูผุชัดเจนและยังไม่เป็นรูผุ การสูญเสียฟันไปเนื่องจากการผุ หรือมีการบูรณะฟันในฟันน้ำนมซี่ใดๆ ตั้งแต่ 1 ด้านขึ้นไปในเด็กแรกเกิดจนถึงอายุ 71 เดือน และใช้คำว่า โรคฟันผุรุนแรงในเด็กปฐมวัย (Severe Early Childhood Caries, S-ECC) ในกรณีที่มีรูปแบบการผุแตกต่างจากปกติ มีการลุกลามรุนแรงรวดเร็ว หรือเป็นการผุบนด้านของฟันที่ไม่พบการผุตามปกติ โดยให้คำจัดการความคือการพบฟันน้ำนมผุที่ด้านเรียบตั้งแต่ 1 ด้านขึ้นไปในกลุ่มอายุต่ำกว่า 3 ปี หรือในเด็ก 3-5 ปี มีรอยผุเป็นรูหรือสูญเสียฟันไปเนื่องจากการผุหรืออุด 1 ด้านหรือมากกว่าในฟันหน้าน้ำนมบน หรือมีค่า dmfs ≥ 4 (อายุ 3 ปี) ≥ 5 (อายุ 4 ปี) ≥ 6 (อายุ 5 ปี)
รูปแบบการผุของโรคฟันผุในเด็กปฐมวัย Ripa (1988) ได้อธิบายรูปแบบการผุของการเลี้ยงด้วยนมที่ไม่เหมาะสมว่าในระยะเริ่มแรก จะพบแถบสีขาว เนื่องจากมีการละลายของแร่ธาตุออกไป ใกล้ๆ กับขอบเหงือกของฟันตัดหน้าน้ำนมบน ซึ่งผู้ปกครองอาจไม่สังเกตเห็นในระยะนี้ เมื่อโรคเป็นมากขึ้น รอยสีขาวจะเปลี่ยนไปเป็นหลุมบริเวณคอฟัน อาจพบว่ามีสีดำหรือสีน้ำตาล ในกรณีที่เป็นมาก จะมีการทำลายเนื้อฟันจนไม่เหลือตัวฟันตัดหน้าน้ำนมบนทั้ง 4 ซี่ มองเห็นเป็นเพียงตอรากฟันที่มีสีน้ำตาลดำเท่านั้น แต่ในฟันตัดน้ำนมหน้าล่างจะไม่พบการผุลักษณะนี้เกิดขึ้น เนื่องจากระหว่างการดูดนม หัวนมจะวางอยู่ชิดกับเพดานปาก ส่วนลิ้นของเด็กจะวางปกคลุมฟันหน้าน้ำนมล่าง ทำให้ของเหลวไหลอาบฟันทุกซี่ในปากยกเว้นฟันหน้าน้ำนมล่าง นอกจากนี้แล้วบริเวณดังกล่าวยังมีรูเปิดของต่อมน้ำลายใต้ลิ้นและใต้ขากรรไกร ล่าง ที่ทำให้มีน้ำลายช่วยในการชะล้างลดความเป็นกรดของคราบจุลินทรีย์ด้วย
หน้าที่ของฟันน้ำนมนอกจาก การบดเคี้ยว การออกเสียง และความสวยงามแล้ว ยังมีความสำคัญในการเป็นแนวนำทางการขึ้นให้กับหน่อฟันแท้ และยังมีความสำคัญในการเจริญเติบโตของขากรรไกรและใบหน้า เนื่องจากระยะชุดฟันน้ำนมอยู่ในช่วงที่เด็กอยู่ในวัยที่มีการเจริญเติบโต หากมีการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยเกิดขึ้นทำให้เกิดผลกระทบหลายด้านไม่ว่าจะ เป็นพัฒนาการทางด้านร่างกายที่พบว่ากลุ่มที่เป็น ECC จะมีน้ำหนักตัวน้อยกว่ากลุ่มปกติ และเด็กที่มีฟันน้ำนมผุมักจะมีแนวโน้มที่ฟันถาวรจะมีการผุด้วยในอนาคต นอกจากนี้ยังมีผลกระทบเรื่องเศรษฐกิจเนื่องจากการรักษาที่มักจะมีความยุ่ง ยากและความร่วมมือในการรักษาที่ต่ำ ทำให้บางครั้งอาจต้องรักษาภายใต้การดมยาสลบ
โดยแนวทางในการป้องกันการเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยนั้น American Academic of Pediatric Dentistry (AAPD revised 2008) ได้ให้วิถีทางในการดูแลไว้คือ
  • ลดเชื้อสาเหตุการเกิดโรคฟันผุในช่องปากมารดาหรือผู้เลี้ยงดู เพื่อลดโอกาสการส่งผ่านเชื้อไปยังเด็ก
  • ลดการใช้ภาชนะที่ปนเปื้อนน้ำลายร่วมกันระหว่างเด็กกับคนในครอบครัว เพื่อลดโอกาสการส่งผ่านเชื้อไปยังเด็ก
  • เพิ่มพูนคำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากก่อนฟันซี่แรกจะขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเด็กหลับคาขวดนมควรได้รับการทำความสะอาดช่องปากก่อนเข้านอน แปรงฟันโดยใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์สำหรับเด็กวันละสองครั้ง เริ่มใช้ไหมขัดฟันเมื่อฟันที่ขึ้นมาชิดกัน
  • ให้ dental home ภายใน 6 เดือนหลังจากฟันซี่แรกขึ้น หรืออย่างช้าเมื่อเด็กอายุ 12 เดือน เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดฟันผุ และให้คำแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพช่องปาก
  • หลีกเลี่ยงการให้อาหารทางขวดนมที่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ
การลดเชื้อสาเหตุในการเกิดโรคฟันผุในช่องปากโดยการแปรงฟันนั้นจะเริ่มแปรง ตั้งแต่ฟันซี่แรกของเด็กเริ่มขึ้น โดยใช้ยาสีฟันผสมฟลูออไรด์สำหรับเด็กในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 2 ปี จะให้ยาสีฟันเพียงเล็กน้อย ป้ายบางๆ ที่แปรงสีฟัน ส่วนเด็กที่มีอายุ 2-5 ปีจะให้ยาสีฟันขนาดเท่าเม็ดถั่วเขียว โดยแปรงวันละสองครั้งเช้าเย็น ซึ่งการแปรงฟันจะกระทำโดยผู้ปกครองเนื่องจากพัฒนาการในการใช้กล้ามเนื้อของ เด็กจะยังไม่ดีพอ ที่จะทำความสะอาดได้ดี ทำให้ผู้ปกครองต้องดูแลให้จนอายุประมาณ 8 ปี ในเด็กที่ยังไม่เคยทำความสะอาดช่องปากมาก่อนนั้นแรกๆ จะมีการร้องไห้และต่อต้านจากเด็กซึ่งเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อย ผู้ปกครองเองต้องแข็งใจ ทำการแปรงฟันให้ลูกให้เป็นนิสัยเหมือนการอาบน้ำ พอทำไปซักระยะเด็กก็จะยอมรับว่าเป็นกิจวัตรประจำวันอย่างหนึ่ง ที่ต้องปฎิบัติทุกวัน และยินยอมที่จะแปรงฟันโดยไม่ขัดขืน หากใจอ่อนไม่ยอมแปรงให้เพราะกลัวลูกร้อง โอกาสที่จะเกิดโรคฟันผุในเด็กปฐมวัยก็จะสูงแน่นอน ก็จะเหมือนกับสุภาษิตที่ว่า พ่อแม่รังแกฉัน โดยการแปรงฟันสิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ว่า
  • เหตุใดจึงต้องแปรงฟัน เพื่อเป็นการทำความสะอาดช่องปากและฟันโดยขจัดเชื้อโรคออกไป โดยเชื้อเหล่านี้จะเป็นสาเหตุก่อให้เกิดโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบได้
  • เราแปรงอะไรออกจากฟัน การแปรงฟันไม่ใช่เพียงแค่การขจัดเศษอาหารออกไป แต่เป็นการขจัดคราบเชื้อโรค ที่ติดอยู่บริเวณตัวฟันและลิ้นออกไป โดยคราบเหล่านี้จะเห็นเป็นลักษณะสีขาวหรือสีเหลืองบนตัวฟัน
  • ทราบได้อย่างไรว่าแปรงฟันสะอาดแล้ว หากแปรงฟันสะอาดแล้วจะพบว่าฟันมีลักษณะผิวเรียบมันวาว เมื่อเอาเล็บหรือไม้จิ้มฟันขูดบนตัวฟันจะไม่พบคราบจุลินทรีย์ติดออกมา
  • หากฟันเริ่มผุจะสังเกตได้อย่างไร โดยลักษณะฟันที่เริ่มผุจะยังไม่เป็นรูสีดำ แต่จะเริ่มจากการที่เราเห็นลักษณะของผิวฟันเป็นสีขุ่นขาวเหมือนชอล์กบริเวณ ที่พบได้บ่อยคือตามขอบเหงือกของตัวฟัน (มีภาพประกอบการสอน) โดยรอยโรคเริ่มแรกเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงเป็นฟันผุที่เห็นเป็นรูก็ได้ หรือไม่เปลี่ยนแปลงเป็นฟันผุก็ได้หากมีการทำความสะอาดฟันขจัดคราบจุลินทรีย์ ได้ดี

เมื่อลูกตัวเหลืองแรกคลอด

เมื่อลูกตัวเหลืองแรกคลอด

ตัวเหลืองแรกคลอด 



ตัวเหลืองแรกคลอด
(modernmom)
โดย: ปิยมาศ

           ภาวะตัวเหลืองพบได้ในเด็กแรกคลอดทั่วไป มีทั้งเป็นแล้วหายเองได้ และต้องได้รับการรักษา รวมถึงดูแลอย่างถูกต้อง แต่หากได้รับการรักษาช้าเกินไป ก็อาจทำให้เด็กเสียชีวิตหรือเกิดความพิการบางอย่างได้

อาการตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด

           แม้ ว่าอาการตัวเหลืองในเด็กแรกเกิดจะเป็นสิ่งที่ เกิดขึ้นตามธรรมชาติก็ตาม แต่แม่ ๆ หลายคนก็ยังกังวลและสงสัยว่า อาการเช่นนี้มีสาเหตุมาจากอะไรกัน

           เม็ด เลือดแดงที่มีอยู่เป็นจำนวนมากในเด็กที่เพิ่งเกิดใหม่นั้น จะถูกทำลายและเปลี่ยนเป็น "บิลิรูบิน" สารสีเหลืองที่อยู่ในกระแสเลือด เมื่อเม็ดเลือดแดงเหล่านั้นหมดอายุแล้ว แต่การทำงานของตับในเด็กเล็กยังทำงานได้ไม่ดีพอ จึงไม่สามารถกำจัดเจ้าบิลิรูบินออกจากร่างกายได้หมด ทำให้สารสีเหลืองคงค้างอยู่ในกระแสเลือด และเกิดการสะสมอยู่ตามผิวหนัง

           ด้วย เหตุนี้เอง อาการตัวเหลืองตาเหลืองจึงแสดงออกมาให้เห็นใน 2 ลักษณะ คือ ชนิดที่ปกติและไม่ปกติ หากลูกเป็นตัวเหลืองแบบปกติคงไม่เป็นอะไร แต่ถ้าเป็นชนิดที่ไม่ปกติ ก็ควรรีบพาไปพบแพทย์ การสังเกตอาการจึงเป็นสิ่งจำเป็นที่แม่ควรรู้

ชนิดปกติ

           มีอาการตัวเหลืองหลังคลอด 2-3 วัน และค่อยๆ เหลืองเพิ่มขึ้น จนกระทั่งปลายสัปดาห์แรกถึงสัปดาห์ที่สอง จึงมีอาการตัวเหลือมากที่สุด

           ไม่มีอาการซึมหรือดูดนมไม่ดี

           ขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะปกติ

           อาการตัวเหลืองค่อย ๆ ลดลงได้เอง

           เด็ก ที่กินนมแม่อย่างเดียวอาจตัวเหลืองมากและ นานกว่าเด็กที่กินนมผสมอย่างเดียว ไม่มีอันตราย แต่ควรได้รับการตรวจและติดตามผลโดยแพทย์ในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก

ชนิดไม่ปกติ

           เด็กมีอาการตัวเหลือง เมื่อมองด้วยตาเปล่าภายในวันแรกหลังคลอด ลักษณะแบบนี้พบได้ในเด็กที่มีกรุ๊ปเลือดไม่เข้ากับแม่

           มีอาการตัวเหลืองร่วมกับอาการไม่สบายบางอย่าง เช่น ซึม ร้องกวนมากกว่าปกติ หรือร้องเสียงแหลมผิดปกติ ดูดนมได้ไม่ดี ท้องอืด ท้องเสีย

           มีอาการตัว เหลืองร่วมกับถ่ายอุจจาระสีเหลืองซีด

           เมื่อพิจารณาตามอายุแล้ว เด็กมีอาการตัวเหลืองมากกว่าเกณฑ์ปกติ

กลุ่มเสี่ยงต่อภาวะตัวเหลืองรุนแรง

           เด็กที่เกิดก่อนกำหนด

           เด็กที่มีน้ำหนักตัวน้อยหรือมากกว่าเกณฑ์ปกติ

           เด็กที่มีหมู่เลือดไม่เข้ากับแม่

           เด็กที่มีอาการตัวแดงจัด เพราะมีเม็ดเลือดแดงเข้มข้นกว่าปกติ

           เด็กที่มีประวัติว่าพี่มีอาการตัวเหลืองมากจนต้องได้รับการรักษา

           เด็กที่ได้รับนมแม่อย่างเดียว แต่แม่มีน้ำนมน้อยหรือให้นมไม่เพียงพอ จนเด็กน้ำหนักตัวลดลงมาก

           เด็ก ที่มีเลือดขังหรือมีลักษณะช้ำบริเวณหนัง ศีรษะ ซึ่งเกิดจากการคลอดยากหรือต้องใช้เครื่องมือแพทย์ช่วยในการคลอด เช่น เครื่องดูดสูญญากาศ คีม ฯลฯ

           เด็กที่มีอาการเจ็บป่วยร่วมด้วย

การรักษา

           ความ เชื่อแต่โบราณ ว่ากันว่าหากเด็กตัวเหลือง นอกจากการได้รับนมแม่ ควรให้น้ำในปริมาณมาก ซึ่งความจริงแล้ว การทำเช่นนั้นอาจทำให้เด็กตัวเหลืองมากและนานขึ้น เพราะได้รับอาหารไม่พอและทำให้ขี้เทาค้างอยู่ในลำไส้นานเกินไป ส่วนการพาไปอาบแดดอ่อนตอนเช้า ซึ่งเป็นอีกวิธีที่นิยมทำกัน อาจได้ผลอยู่บ้าง แต่ถ้าเด็กตัวเหลืองแบบไม่ปกติ วิธีนี้อาจไม่ทันการ ควรที่จะได้รับการรักษาด้วยวิธีดังนี้

            1.การส่องไฟ เป็นการใช้แสงบำบัดด้วยหลอดไฟสีฟ้าเข้ม โดยจะส่องไฟตลอดเวลา ยกเว้นช่วงที่แม่ให้นม นับเป็นการรักษาที่ไม่มีผลเสียหรืออันตรายกับเด็ก ใช้เวลาประมาณ 1-2 วัน จนระดับการตัวเหลืองลดลงจึงหยุดการรักษาได้ แต่กรณีที่เด็กขาดน้ำหรือไม่สามารถกินนมได้อย่างเพียงพอ อาจต้องให้น้ำเกลือร่วมด้วย

           2.การเปลี่ยนถ่ายเลือด เด็กจะได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้ก็ต่อเมื่อแพทย์วินิจฉัยแล้วพบว่า มีอาการตัวเหลืองรุนแรงมาก เนื่องจากเม็ดเลือดแดงถูกทำลายอย่างรวดเร็ว เช่น กรณีที่หมู่เลือดของแม่กับลูกไม่เข้ากัน ฯลฯ รวมถึงรักษาด้วยการส่องไฟแล้วไม่ได้ผล

           หาก เด็กอยู่ในภาวะตัวเหลืองรุนแรงแล้วไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เสียชีวิต หรือเกิดความพิการที่สมองอย่างถาวร มีอาการหูตึงหรือหูหนวกได้ การป้องกันที่ดีที่สุดคงจะเป็นการให้นมกับทารกอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ควรสังเกตอาการหลังกลับบ้าน แม้คุณแม่มือใหม่อาจเป็นช่วงชุลมุนวุ่นวายหลายอย่าง แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับการสังเกตลูกด้วยนะคะ โดยเฉพาะในช่วงสัปดาห์แรก ๆ เพราะนอกจากช่วยภาวะความเสี่ยงแล้ว หากพบว่าลูกมีสัญญาณอาการเหล่านี้ ก็จะได้รีบพาลูกไปพบแพทย์ได้ไม่ล่าช้าเกินไป

การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

ความเป็นมา
หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทยเป็นองค์ความรู้ที่ พัฒนาขึ้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี และคณาจารย์ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์ความรู้นี้ เป็น ผลงาน จากโครงการวิจัย ซึ่งหน่วยปฏิบัติการวิจัยการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดําเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 โดยดำเนิน การเป็นโครงการย่อยมาเป็นลำดับ รวมทั้ง สิ้น 6 โครงการ จนสามารถสรุปเป็นหลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย และจัดพิมพ์เผยแพร่ ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2535 และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2536 โดยการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากองค์การ UNICEF และฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทฤษฎีที่มีอิทธิพล

จากการรวบรวมทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กและการจัดการศึกษาสํา หรับเด็กปฐมวัยพบว่าทฤษฎี และหลักการที่ใช้ กันอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นทฤษฎีและหลักการของต่างประเทศ ประเทศไทยเรายังไม่มี ทฤษฎีหรือหลักการในการพัฒนาเด็ก ที่พัฒนาขึ้นจากฐานข้อมูลที่มาจากเด็กไทย และบริบททางสังคมและ วัฒนธรรมไทย ดังนั้นคณะกรรมการวิจัย จึงได้พยายามศึกษาและผสมผสานความรู้ตามหลักสากลกับภูมิปัญญา วิถีชีวิตและระบบคุณค่าของสังคมไทยเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ได้หลักการและ รูปแบบในการพัฒนาเด็ก ไทยให้มีคุณ ภาพ แต่อย่างไรก็ตามสามารถแบ่งแนวคิดทฤษฎีได้ดังนี้

1. แนวคิด หลักการ และข้อมูลของไทย ได้แก่

แนวคิดทางพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก ประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนามนุษย์ กระบวนการพัฒนา สติปัญญา กระบวนการพัฒนาคุณธรรม และกระบวนการกัลยาณมิตร แนวคิดทางวัฒนธรรมไทย ประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับสํานึกความเป็นไทย ความประพฤติของเด็กไทย การอบรมเลี้ยงดูเด็ก ด้านค่านิยมและคุณธรรม การอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วยรักและถนอม แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาษา สิ่งแวดล้อมทางจิต วิญญาณและทางธรรมชาติ และวงศาคณาญาติ ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของเด็กไทย แนวโน้มของสังคมและเด็กไทยในอนาคต

2. แนวคิด หลักการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก และได้รับการยอมรับในระดับสากล ได้แก่

แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษา ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ และแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา เด็ก โดยครอบครัวแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ และแนวคิดเกี่ยวกับ การเล่นของเด็กปฐมวัย

กระบวนการ
องค์ความรู้ที่ได้เป็นผลมาจากการดำเนินงานตามกระบวนการ ดังนี้
1. ขั้นการสร้างหลักการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย คณะกรรมการวิจัยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทั้งของไทย และต่างประเทศ วิเคราะห์แนวคิดที่ใช้เป็นฐานของการวิจัย และกำหนดเป็นหลักการในการพัฒนาเด็ก

2. ขั้นการสร้างรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามวิถีชีวิตไทยโดยกําหนดกรอบความคิด โครงสร้าง เนื้อหา วิธีการและกิจกรรมการพัฒนาเด็กให้สอดคล้องกับหลักการในการพัฒนาเด็กที่กำหนด ไว้ แล้วเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ ได้พิจารณาให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์ขึ้น

3. ขั้นการทดลองใช้หลักการและรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยการพัฒนาสื่อตามที่รูปแบบนําไปทดลองใช้ในหมู่บ้านชนบทของไทย ใน 4 ภาคภูมิศาสตร์ และเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

4. ขั้นการเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยจัดพิมพ์ผลงานเผยแพร่ในประเทศไทยและแปลผลงานเป็นภาษาอังกฤษจัดพิมพ์เผยแพร่ใน ต่างประเทศ

ผลงานวิจัยอันเป็นองค์ความรู้ : หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

1. ผลการพัฒนาหลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

1.1 หลักการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย ซึ่งเป็นผลจากการบูรณาการข้อมูล 4 ด้าน คือ หลักการทางพระพุทธศาสนา หลักการทางวัฒนธรรมไทย หลักการทางการศึกษาปฐมวัย และข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการ ปัญหาและแนวโน้มของสังคมไทยและ เด็กไทยมีทั้งสิ้น 4 หมวด รวม 123 ข้อ ดังนี้
- หลักการทั่วไปในการพัฒนาเด็ก มีจํานวน 8 ข้อ
- หลักการในการเตรียมครอบครัวเด็ก มีจํานวน 8 ข้อ
- หลักการในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย รวม 94 ข้อ จำแนกเป็น
- หลักการทั่วไปในการส่งเสริมพัฒนาการของ เด็กปฐมวัย มี 24 ข้อ
- หลักการในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัย 70 ข้อ
- หลักการในการพัฒนาผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก 13 ข้อ
1.2 รูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย ที่พัฒนาขึ้นโดยยึดหลักการพัฒนาเด็กปฐมวัยมี 2 รูปแบบ คือ

1 ) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ตามวิถีชีวิตไทยโดยครอบครัวเป็นรูปแบบที่มุ่งพัฒนาเด็กวัย0-3 ปี ผ่าน ทางการพัฒนาพ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก รูปแบบนี้ได้จัดทำสาระเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่จําเป็นและสอดคล้อง กับหลักการที่เป็นพื้นฐาน และได้พัฒนา สื่อต่างๆ ให้พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กได้ศึกษาประกอบด้วยหนังสือชุดการอบรม เลี้ยงดูเด็กเล็กจํานวน 37 เล่ม เทปเสียงบรรยายสาระในหนังสือ จํานวน 37 ตลับ และปฏิทินสรุปสาระสําคัญจาก หนังสือ 37 เล่ม โดยการให้บุคคลในชุมชนที่มีความสามารถทําหน้าที่จัดการศึกษาต่อเนื่อง ให้พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ได้มาศึกษาร่วมกัน จัดสัปดาห์ละครั้งต่อเนื่องกันเป็นระยะยาว โดยดําเนินการตามกระบวนการและสื่อที่ให้ไว้ตามคู่มือ การอบรมผู้เลี้ยงดูเด็ก การศึกษาในลักษณะนี้สามารถช่วยพัฒนานิสัยการเรียนรู้และกระบวน การเรียนรู้ของพ่อแม่ไป พร้อมๆกับการพัฒนาความ รู้ความเข้าใจและ การปฏิบัติเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ทั้งยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในครอบครัวด้วย
2 ) รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย เป็นรูปแบบที่มุ่งพัฒนาเด็กวัย 3-6 ปี ผ่านทางการพัฒนาผู้ดูแลเด็ก รูปแบบนี้ได ้กำหนดกิจกรรมประจำวันของเด็ก ซึ่งได้จัดไว้อย่างมีหลักการและมีสัดส่วนสมดุลกันในเรื่อง ต่างๆ ที่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้าน รวมทั้งเสนอแนะวิธีการจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็ก ซึ่งมีทั้งการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต ได้เรียนรู้แบบธรรม ชาติจากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ และได้เรียนรู้จากการสอนโดยตรงซึ่งผู้ดูแลเด็กสามารถเรียนรู้ได้จากการฝึก ปฏิบัติในการทํางานจริง โดยได้รับการนิเทศจากผู้นิเทศที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก ซึ่งจะนิเทศให้ผู้ดูแลเด็กสามารถ ปฏิบัติงานได้ ตามคู่มือการจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

2. ผลการทดลองนำร่องการใช้รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย สรุปได้ดังนี้

หลักการที่ใช้เป็นพื้นฐาน ในการพัฒนารูปแบบมีความเหมาะสม รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทยโดยครอบครัว เอื้ออำนวยให้คนในชุมชนสามารถช่วยกัน
พัฒนาพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กได้ดี แม้ว่าผู้ เลี้ยงดูเด็กจะมีพื้นฐานทางการศึกษาไม่เกินประถมศึกษาปีที่ 6 อย่างไรก็ตาม ผลจากความ รู้ความเข้าใจ ของพ่อแม่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ส่งผลถึงตัวเด็กนั้น ยังไม่สามารถสรุป ได้ชัดเจนจำเป็นต้องติด ตามต่อไป

รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทยมีความเหมาะสม สามารถช่วยให้ผู้ดูแลเด็กจัดการศึกษาให้แก่เด็กได้ดีขึ้น แม้ว่าผู้ดูแล เด็กจะมีความรู้ที่จํากัด และมีปัญหาหลายประการ เช่น จำนวนเด็กมีมาก อาคารสถานที่ไม่เอื้ออำนวย วัสดุอุปกรณ์การสอนมีน้อย ผลจากการทดลองนำร่องการใช้รูปแบบเสนอแนะ 2 รูปแบบดังกล่าวนัยว่าประสบผลสําเร็จในภาพรวม แต่ยังต้องการการปรับปรุงและ การดำเนินการต่อไป ในจุด ที่ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากเวลาจำกัดงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา การพัฒนา จึงได้ดำเนินการ ต่อไป โดยปัจจุบันคณะผู้วิจัยกำลังดำเนินการต่อเนื่องเป็นโครงการที่ 7 เพื่อติดตามผลการใช้รูปแบบ การพัฒนา เด็กปฐมวัย ตามวิถีชีวิตไทยต่อไป