วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

การพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

ความเป็นมา
หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทยเป็นองค์ความรู้ที่ พัฒนาขึ้นโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ทิศนา แขมมณี และคณาจารย์ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย องค์ความรู้นี้ เป็น ผลงาน จากโครงการวิจัย ซึ่งหน่วยปฏิบัติการวิจัยการศึกษาปฐมวัย ภาควิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดําเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 โดยดำเนิน การเป็นโครงการย่อยมาเป็นลำดับ รวมทั้ง สิ้น 6 โครงการ จนสามารถสรุปเป็นหลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย และจัดพิมพ์เผยแพร่ ครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2535 และครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2536 โดยการสนับสนุนเงินทุนวิจัยจากองค์การ UNICEF และฝ่ายวิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ทฤษฎีที่มีอิทธิพล

จากการรวบรวมทฤษฎีและหลักการเกี่ยวกับพัฒนาการเด็กและการจัดการศึกษาสํา หรับเด็กปฐมวัยพบว่าทฤษฎี และหลักการที่ใช้ กันอยู่ในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นทฤษฎีและหลักการของต่างประเทศ ประเทศไทยเรายังไม่มี ทฤษฎีหรือหลักการในการพัฒนาเด็ก ที่พัฒนาขึ้นจากฐานข้อมูลที่มาจากเด็กไทย และบริบททางสังคมและ วัฒนธรรมไทย ดังนั้นคณะกรรมการวิจัย จึงได้พยายามศึกษาและผสมผสานความรู้ตามหลักสากลกับภูมิปัญญา วิถีชีวิตและระบบคุณค่าของสังคมไทยเข้าด้วยกัน เพื่อช่วยให้ได้หลักการและ รูปแบบในการพัฒนาเด็ก ไทยให้มีคุณ ภาพ แต่อย่างไรก็ตามสามารถแบ่งแนวคิดทฤษฎีได้ดังนี้

1. แนวคิด หลักการ และข้อมูลของไทย ได้แก่

แนวคิดทางพระพุทธศาสนา ที่เกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก ประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนามนุษย์ กระบวนการพัฒนา สติปัญญา กระบวนการพัฒนาคุณธรรม และกระบวนการกัลยาณมิตร แนวคิดทางวัฒนธรรมไทย ประกอบด้วยแนวคิดเกี่ยวกับสํานึกความเป็นไทย ความประพฤติของเด็กไทย การอบรมเลี้ยงดูเด็ก ด้านค่านิยมและคุณธรรม การอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วยรักและถนอม แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ภาษา สิ่งแวดล้อมทางจิต วิญญาณและทางธรรมชาติ และวงศาคณาญาติ ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาและความต้องการของเด็กไทย แนวโน้มของสังคมและเด็กไทยในอนาคต

2. แนวคิด หลักการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก และได้รับการยอมรับในระดับสากล ได้แก่

แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษา ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนามนุษย์ และแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา เด็ก โดยครอบครัวแนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาปฐมวัย ประกอบด้วย แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ และแนวคิดเกี่ยวกับ การเล่นของเด็กปฐมวัย

กระบวนการ
องค์ความรู้ที่ได้เป็นผลมาจากการดำเนินงานตามกระบวนการ ดังนี้
1. ขั้นการสร้างหลักการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย คณะกรรมการวิจัยรวบรวมข้อมูลพื้นฐานทั้งของไทย และต่างประเทศ วิเคราะห์แนวคิดที่ใช้เป็นฐานของการวิจัย และกำหนดเป็นหลักการในการพัฒนาเด็ก

2. ขั้นการสร้างรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัย ตามวิถีชีวิตไทยโดยกําหนดกรอบความคิด โครงสร้าง เนื้อหา วิธีการและกิจกรรมการพัฒนาเด็กให้สอดคล้องกับหลักการในการพัฒนาเด็กที่กำหนด ไว้ แล้วเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์ ได้พิจารณาให้ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงรูปแบบให้สมบูรณ์ขึ้น

3. ขั้นการทดลองใช้หลักการและรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยการพัฒนาสื่อตามที่รูปแบบนําไปทดลองใช้ในหมู่บ้านชนบทของไทย ใน 4 ภาคภูมิศาสตร์ และเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลและสรุปผล

4. ขั้นการเผยแพร่ผลงานวิจัย โดยจัดพิมพ์ผลงานเผยแพร่ในประเทศไทยและแปลผลงานเป็นภาษาอังกฤษจัดพิมพ์เผยแพร่ใน ต่างประเทศ

ผลงานวิจัยอันเป็นองค์ความรู้ : หลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

1. ผลการพัฒนาหลักการและรูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย

1.1 หลักการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย ซึ่งเป็นผลจากการบูรณาการข้อมูล 4 ด้าน คือ หลักการทางพระพุทธศาสนา หลักการทางวัฒนธรรมไทย หลักการทางการศึกษาปฐมวัย และข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการ ปัญหาและแนวโน้มของสังคมไทยและ เด็กไทยมีทั้งสิ้น 4 หมวด รวม 123 ข้อ ดังนี้
- หลักการทั่วไปในการพัฒนาเด็ก มีจํานวน 8 ข้อ
- หลักการในการเตรียมครอบครัวเด็ก มีจํานวน 8 ข้อ
- หลักการในการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัย รวม 94 ข้อ จำแนกเป็น
- หลักการทั่วไปในการส่งเสริมพัฒนาการของ เด็กปฐมวัย มี 24 ข้อ
- หลักการในการส่งเสริมพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็กปฐมวัย 70 ข้อ
- หลักการในการพัฒนาผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเด็ก 13 ข้อ
1.2 รูปแบบการพัฒนาเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย ที่พัฒนาขึ้นโดยยึดหลักการพัฒนาเด็กปฐมวัยมี 2 รูปแบบ คือ

1 ) รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ตามวิถีชีวิตไทยโดยครอบครัวเป็นรูปแบบที่มุ่งพัฒนาเด็กวัย0-3 ปี ผ่าน ทางการพัฒนาพ่อ แม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็ก รูปแบบนี้ได้จัดทำสาระเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่จําเป็นและสอดคล้อง กับหลักการที่เป็นพื้นฐาน และได้พัฒนา สื่อต่างๆ ให้พ่อแม่ผู้เลี้ยงดูเด็กได้ศึกษาประกอบด้วยหนังสือชุดการอบรม เลี้ยงดูเด็กเล็กจํานวน 37 เล่ม เทปเสียงบรรยายสาระในหนังสือ จํานวน 37 ตลับ และปฏิทินสรุปสาระสําคัญจาก หนังสือ 37 เล่ม โดยการให้บุคคลในชุมชนที่มีความสามารถทําหน้าที่จัดการศึกษาต่อเนื่อง ให้พ่อแม่ ผู้เลี้ยงดูเด็ก ได้มาศึกษาร่วมกัน จัดสัปดาห์ละครั้งต่อเนื่องกันเป็นระยะยาว โดยดําเนินการตามกระบวนการและสื่อที่ให้ไว้ตามคู่มือ การอบรมผู้เลี้ยงดูเด็ก การศึกษาในลักษณะนี้สามารถช่วยพัฒนานิสัยการเรียนรู้และกระบวน การเรียนรู้ของพ่อแม่ไป พร้อมๆกับการพัฒนาความ รู้ความเข้าใจและ การปฏิบัติเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็ก ทั้งยังช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือในครอบครัวด้วย
2 ) รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย เป็นรูปแบบที่มุ่งพัฒนาเด็กวัย 3-6 ปี ผ่านทางการพัฒนาผู้ดูแลเด็ก รูปแบบนี้ได ้กำหนดกิจกรรมประจำวันของเด็ก ซึ่งได้จัดไว้อย่างมีหลักการและมีสัดส่วนสมดุลกันในเรื่อง ต่างๆ ที่จะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้าน รวมทั้งเสนอแนะวิธีการจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่เด็ก ซึ่งมีทั้งการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติเป็นวิถีชีวิต ได้เรียนรู้แบบธรรม ชาติจากการปฏิสัมพันธ์กับบุคคล สื่อ และสิ่งแวดล้อมต่างๆ และได้เรียนรู้จากการสอนโดยตรงซึ่งผู้ดูแลเด็กสามารถเรียนรู้ได้จากการฝึก ปฏิบัติในการทํางานจริง โดยได้รับการนิเทศจากผู้นิเทศที่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการพัฒนาเด็ก ซึ่งจะนิเทศให้ผู้ดูแลเด็กสามารถ ปฏิบัติงานได้ ตามคู่มือการจัดกิจกรรมและประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

2. ผลการทดลองนำร่องการใช้รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทย สรุปได้ดังนี้

หลักการที่ใช้เป็นพื้นฐาน ในการพัฒนารูปแบบมีความเหมาะสม รูปแบบการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทยโดยครอบครัว เอื้ออำนวยให้คนในชุมชนสามารถช่วยกัน
พัฒนาพ่อแม่ หรือผู้เลี้ยงดูเด็กในชุมชนให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กได้ดี แม้ว่าผู้ เลี้ยงดูเด็กจะมีพื้นฐานทางการศึกษาไม่เกินประถมศึกษาปีที่ 6 อย่างไรก็ตาม ผลจากความ รู้ความเข้าใจ ของพ่อแม่เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูเด็กที่ส่งผลถึงตัวเด็กนั้น ยังไม่สามารถสรุป ได้ชัดเจนจำเป็นต้องติด ตามต่อไป

รูปแบบการจัดการศึกษาปฐมวัยตามวิถีชีวิตไทยมีความเหมาะสม สามารถช่วยให้ผู้ดูแลเด็กจัดการศึกษาให้แก่เด็กได้ดีขึ้น แม้ว่าผู้ดูแล เด็กจะมีความรู้ที่จํากัด และมีปัญหาหลายประการ เช่น จำนวนเด็กมีมาก อาคารสถานที่ไม่เอื้ออำนวย วัสดุอุปกรณ์การสอนมีน้อย ผลจากการทดลองนำร่องการใช้รูปแบบเสนอแนะ 2 รูปแบบดังกล่าวนัยว่าประสบผลสําเร็จในภาพรวม แต่ยังต้องการการปรับปรุงและ การดำเนินการต่อไป ในจุด ที่ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจากเวลาจำกัดงานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยและพัฒนา การพัฒนา จึงได้ดำเนินการ ต่อไป โดยปัจจุบันคณะผู้วิจัยกำลังดำเนินการต่อเนื่องเป็นโครงการที่ 7 เพื่อติดตามผลการใช้รูปแบบ การพัฒนา เด็กปฐมวัย ตามวิถีชีวิตไทยต่อไป